ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา
เรื่องสำคัญจากที่ประชุมกองพลทหารช่าง/ค่ายบุรฉัตร (เมื่อ 13 พ.ย.2550)
นโยบาย ผบ.ทบ. เมื่อ 19 ต.ค.2550 ที่ควรทราบ
-กองทัพบกเป็นกลไกลหลัก เป็นหลักประกันความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชน
-เป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ทหารของนักการเมือง
-เป็นทหารต้องมีเกียรติและศักดิ์ศรี ไม่ให้อำนาจใฝ่ต่ำมาครอบงำ
-ระบบอุปถัมภ์จะพยายามขจัดให้เหลือน้อยที่สุด
-ปัญหายาเสพติดในหน่วยทหารต้องขจัดให้หมดไป
-ให้ความสำคัญในการถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นอันดับแรก “ไม่มีสิทธิผิดพลาด”
-ให้ความสำคัญโครงการพระราชดำริเป็นอันดับแรก
-ปฏิบัติงานภายใต้แนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “แนวทางสันติ”
ด้านการเมืองในปัจจุบัน
-ไม่ให้มีการแบ่งฝ่ายอำนาจเก่าอำนาจใหม่
-กองทัพบกเป็นกลางทางการเมือง
- ทหารต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด เพราะผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้วว่าการปฏิบัติดังกล่าวอยู่บนฐานของความมั่นคงและผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก
-อย่าให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง อย่าให้มีหัวคะแนน อย่าทำตนให้มีเงื่อนไข
เรื่องชี้แจงจากที่ประชุม พล.ช. ที่ควรทราบ
-วันที่ 21 พ.ย.2550 เวลาประมาณ 10.30 น. ผบ.พล.ช.นัดประชุมชุมชน เรื่องการเลือกตั้ง ณ สโมสรนายทหารชั้นประทวน
-วันที่ 22 พ.ย.2550 วันคล้ายวันสถาปนา พล.ช. (งดเชิญนักการเมือง)
-มีการลักขโมยมิเตอร์ภายในค่ายบุรฉัตร ตอนนี้จับผู้ขโมยได้แล้ว
-มีการเสพยาบ้าที่แฟลต และมีผู้ปกครองของเด็กนักเรียนเราร่วมอยู่ด้วย (ขอให้หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นำเด็กเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือ ครูประจำชั้นให้หมั่นเอาใจใส่เด็กด้วย)
-ต่อไปหากมีพฤติกรรมหรือหลักฐานที่เชื่อถือได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ผู้กระทำผิดออกนอกค่ายบุรฉัตรทันที ค่อยทำการสอบสวนในภายหลัง หรืออาจไม่สอบสวนเลย (เพราะไม่ใช่ศาล)
-กองพลพัฒนาที่ 1 จะเปิดศูนย์อภิบาลเด็กเล็ก (3 เดือน ถึง 2 ขวบครึ่ง) จะเปิดประมาณเดือน เม.ย.2551 รับเด็กได้ประมาณ 30 คน
-ชุมชน ช.พัน.111 ได้เปิดศูนย์ออกกำลังกาย ขอเชิญชวนไปใช้ได้
-ชุมชน ช.พัน.602 ได้เปิดศูนย์ขายเครื่องใช้สำนักงาน ซ่อมและให้บริการคอมพิวเตอร์ ชุบเครื่องหมาย เชิญชวนให้ไปใช้บริการ (แฟลต 128 ตรงข้ามเครื่องมือเบา)
-กำหนดการจัดงานสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง 11-17 เม.ย.2550 มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองด้วย
-กรมการทหารข่าวรับสมัครกองหนุนและบุคลพลเรือนเข้ารับราชการ จำนวน 21 อัตรา
-ประชุมใหญ่สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ วันที่ 22 พ.ย.2550 ณ โรงพลศึกษา 1
-ผบ.พล.ช. เน้น นโยบายด้านการเมืองตามที่กองทัพบกสั่ง ในค่ายบุรฉัตร ห้ามมีการซื้อสิทธิขายเสียง ห้ามมีหัวคะแนน และช่วงนี้ห้ามผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองเข้ามาในค่ายฯ จนกว่าการเลือกตั้งเสร็จสิ้น
เรื่องชี้แจง จากการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพท.รบ.1 เมื่อ 15 พ.ย.2550 ณ อาคารสมาคมผู้ปกครองและครู รร.อนุบาลราชบุรี
แผนการดำเนินงานของ สพท.รบ.1 ประจำปี 2551 ที่สำคัญและควรทราบ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์
กลยุทธ์ที่ 1 คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-โครงการคุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
-โครงการค่ายคุณธรรมเยาวชนไทย ทำดีถวายในหลวง ปีการศึกษา 2551
-โครงการส่งเสริมการประกวดดนตรี และดนตรีนาฎศิลป์
-โครงการอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ขั้นผู้ช่วย (A.L.T.C)
-โครงการจัดงานชุมนุมลูกเสือฯ สพท.รบ.1
-โครงการพัฒนาความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-โครงการนิเทศฯ ต่างๆ
-โครงการแผนที่ความดี “ราชบุรีรักษ์ถิ่น”
กลยุทธ์ที่ 2 ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชากรวัยเรียนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
-โครงการขับเคลื่อนการเพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
-โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังและระบบให้ความช่วยเหลือแก่เด็กพิการและด้อยโอกาส
-โครงการพัฒนาระบบข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
-โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2550
-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนวิชาคณิตศาสตร์
-โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย
-โครงการพัฒนาการอ่านคล่องเขียนคล่องของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 และ 2
-โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
-โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยเน้นการอ่าน การเขียน วิเคราะห์
-โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปีงบประมาณ 2551
-โครงการส่งเสริมพัฒนาขับเคลื่อนกระบวนการคิดสู่ห้องเรียน
-โครงการพัฒนานวัตกรรม สพท.รบ.1
-โครงการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
-โครงการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน สพท.รบ.1
กลยุทธ์ที่ 4 การกระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งให้ สพท.และสถานศึกษา
-โครงการพัฒนาความพร้อมของ สพท. ในการประสาน ส่งเสริมสันบสนุนสถานศึกษาในการบริหารและจัดการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ (SBM)
-โครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการบริหาร และจัดการศึกษาของสถานศึกษาประเภทที่ 2 สู่ประเภทที่ 1 เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
-โครงการพัฒนาสถานศึกษา และเครือข่ายสถานศึกษา ประเภทที่ 1 เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
-โครงการอบรมเครือข่ายประชาสัมพันธ์และการใช้ E-news
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
-โครงการสภานักเรียนไทยหัวใจสมานฉันท์ ยึดมั่นธรรมมาภิบาล
-โครงการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้าง เครือข่ายขององค์คณะบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา
-โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาเอกชน
การสนับสนุนการเลือก ส.ส. ประจำปี 2550
-จัดบอร์ดสถานที่ติดป้าย ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบสัดส่วน จำนวน 2 บอร์ด
-จัดสถานที่ติดตั้งคัทเอ้าท์ของผู้สมัคร ขนาดไม่เกินไม้อัด
-วางตัวเป็นกลาง
-ห้ามผู้สมัครมาพูดหน้าแถว หน้าเสาธง หรือหาเสียงใดๆ ถ้าหากมีต้องจัดให้ทุกพรรคเท่าเทียมกัน
-หากมีผู้สมัครเข้ามาหาเสียงให้กระทำได้เฉพาะเดินแนะนำตัวและแจกโบว์ชัว ตามที่กฎหมายกำหนด ห้ามทิ้งโบว์ชัวเกลื่อนกลาด ผู้รับต้องเก็บไปด้วย
-การเป็นพิธีกร ในงานต่างๆ ให้กล่าวเฉพาะชื่อผู้สมัคร ห้ามกล่าวเสริมอย่างอื่น เช่น .........ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ราชบุรี เขต 2 พรรค......
เรื่องที่ ผอ.สพท.รบ.1 เป็นห่วง คือ ให้ระมัดระวังเรื่องโครงการอาหารกลางวัน
เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ผลงานของโรงเรียนในช่วงปิดเทอม (8-31 พ.ย.2550)
-สถาปนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-สถาปนาระบบงานแนะแนว
-ประชุมครูเพื่อจัดทำวิสัยทัศน์โรงเรียนใหม่
-ปรับงบประมาณภาคเรียนที่ 2/2550 ตามนโยบายผู้จัดการ
-ประชุมปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และอนุมัติทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2/2550 เพื่อนำผลมาประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
-ปรับเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
ผลงานที่สำคัญ
-5-30 พ.ย.50 มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2550 (28 พ.ย.50 พิธีเปิด/30 พ.ย. 50 พิธีปิด)
-7 พ.ย.2550 ร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย” ม.เกษตรศาสตร์
-8 พ.ย.2550 ตรวจกองลูกเสือขั้นที่ 5
-17 พ.ย.2550 การสอบโครงการตอบปัญหาธรรมทางก้าวหน้า
-29 พ.ย.2550 การสอบโครงการธรรมศึกษาสนามหลวง
การสั่งการของครูใหญ่
การจัดการแข่งขัน “มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพประจำปีการศึกษา 2550”
-ขอให้คุณครูทุกคนพยายามสอนเด็กให้คิดเป็น ทำเป็น (ครูควรเป็นเพียงที่ปรึกษา ผู้อำนวยความสะดวก ผู้ชี้แนะ และผู้ที่คอยกระตุ้นให้เด็กทำ บอกงาน บอกวิธีการ บอกเครื่องมือที่ใช้ให้ชัดเจน) สอนการแก้ปัญหา การจัดการกับปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งตัวนักกีฬา ผู้ฝึกสอน หัวหน้าทีม ผู้จัดการแข่งขัน และผู้ชม นี่คือพวกเรากำลังสอนเรื่องการบริหารจัดการให้เด็กไปด้วยในตัว
-ข้อมูลการแข่งขันกีฬาแต่ละวัน ผลการแข่งขัน จำนวนเหรียญรางวัล ควรพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ
-เน้นระเบียบ ขั้นตอน กฎเกณฑ์ ของการแข่งขันกีฬาประเภทนั้นด้วย (อย่าปล่อยให้สนุก จนลืมสาระ)
-คำขวัญกีฬา (ขอตั้งนานแล้วยังไม่ได้)
-การเชิญแขกรับเชิญมาเป็นประธานชมการแข่งขัน ต้องให้ความสำคัญกับผู้ที่เชิญมา คอยดูแลตามความเหมาะสม
-ขบวนพาเหรดให้ใช้แนวความคิด “เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 ปี” (เพราะใกล้วันที่ 5 ธันวาคม) (ฝากแม่สีช่วยคิดร่วมกันเด็กด้วย)
-การแสดงในพิธีเปิดคงใช้แนวความคิดเดียวกัน (พยายามให้ผู้ชมมีส่วนร่วมก็จะดี) (อนุบาล 1 ชุด,ประถมและมัธยม 1 ชุด)
-กีฬาอนุบาลในวันที่ 29 พ.ย.2550 พยายามให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
-พิธีเปิดและพิธีปิด ตามกำหนดการที่แจก
-ถ้วยรางวัลกีฬาประเภทต่างๆ อาทิ ถ้วยรวมกีฬาแต่ละประเภท 17 ใบ ถ้วยรวมกีฬา จำนวน 1 ใบ ถ้วยรางวัลนักกีฬามารยาทยอดเยี่ยม ช่วงชั้นที่ 1 2 และ 3 จำนวน 3 ใบ ถ้วยรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ช่วงชั้นที่ 1 2 และ 3 จำนวน 3 ใบ ถ้วยรางวัลทักษะกีฬา ช่วงชั้นที่ 1 2 และ 3 จำนวน 3 ใบ ถ้วยรางวัลขบวนพาเหรดประเภทสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ จำนวนอย่างละ 1 ใบ ถ้วยรางวัลดรัมเมเยอร์สวยงาม จำนวน 4 ใบ ฯลฯ
-รื้อฟื้นวงดุริยางค์ของนักเรียน ใช้นำหมู่ธง (ให้ครูวิชัยควบคุมวง ครูรุ่งชัยเป็นผู้ฝึกซ้อม)
-การวิจัยกลุ่มสาระและวิจัยในชั้นเรียนของครู ขอให้กระทำอย่างต่อเนื่อง และเข้ามาปรึกษาได้ตลอดเวลา
-โครงการ Room office เพื่อสอนให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการทำงานเป็นทีม ขอให้คุณครูพยายามสร้างแรงจูงใจให้เด็ก (การตัดสินผ่านเกณฑ์-ธงฟ้า สูงสุดธงผู้นำ-พร้อมเงินรางวัล คะแนนสะสมสูงสุดตลอดภาคการศึกษา)
-ในการเรียนรู้นั้น นักเรียนต้องตื่นตัว และเป็นผู้ประดิษฐ์หรือผลิตบางสิ่งบางอย่างด้วยความตื่นตัว
-นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะคิดและแก้ปัญหา
-นักเรียนทุกคนจะต้องเตรียมตนเองสำหรับชีวิตในสังคมจึงต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
-หนังสือเวียนอ่านสำหรับครู ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (วิธีการอ่านหนังสือเร็ว ดูได้ที่เว็บไซต์โรงเรียน www.buarmy.com)
-เพิ่มพลังการเรียนรู้ด้วยการจัดที่นั่งในชั้นเรียน - การจัดห้องคอมพิวเตอร์ใหม่ (20 เครื่อง) คอมพิวเตอร์อนุบาลและห้องสารสนเทศ (14 เครื่อง) และการจัดห้องสมุดออนไลน์ (8 เครื่อง) งบประมาณที่ต้องปรับปรุง 33,520 บาท และ โครงการ Room Office สามารถพิจารณาประยุกต์ใช้การเพิ่มพลังการเรียนรู้ด้วยการจัดที่นั่งในชั้นเรียนได้เช่นกัน
-แจ้งการแต่งตั้งทีมงานฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน และคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นทีมที่สำคัญ ขอให้คุณครูทุกคนช่วยปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมด้วย
-ขอให้ครูเข้าใจและหันมาใช้บริการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (อย่ายึดติดระบบเดิมๆ)
-ขอให้ครูช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้วย สโลแกนโรงเรียน “อบอุ่น ปลอดภัย ในค่ายบุรฉัตร” และเว็บไซต์ของโรงเรียน www.buarmy.com
-ครูที่ไปอบรม สัมมนาต่างๆ ต้องรายงานผลการอบรม สัมมนา ด้วยบทความเชิงข่าว พร้อมภาพ ทุกครั้ง โดยส่งเป็นไฟล์อิเลคโทรนิคส์ (หากมีหลายคนให้พิจารณากันเองในกลุ่มว่าใครจะเป็นผู้ทำ) และนำบทความและภาพถ่ายลง Blog กลุ่มสาระขอตนเอง
- การเก็บภาพถ่ายเหตุการณ์ต่างๆ ขอให้ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และขอให้ครูอื่นๆ ที่มีกล้องช่วยถ่ายเก็บไว้ด้วย แล้วนำมาลงไว้ในห้องสารสนเทศโรงเรียนเพื่อการเผยแพร่ต่อไป
-เรื่องการรับโทรศัพท์ และการบันทึกโทรศัพท์
งานต่างๆ ที่ไม่คืบหน้า
-Blog ของกลุ่มสาระต่างๆ ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ (บางกลุ่มสาระฯบทความสุดท้าย ตั้งแต่เดือน ก.ย.50)
-งานวิจัยในชั้นเรียนและกลุ่มสาระ ยังไม่มีความคืบหน้า
-การปรับปรุงห้องสมุด ขอให้มีการประชุมกลุ่มงานห้องสมุดอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม
-แผนการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละวิชา ยังไม่ได้รับเลย ขอให้ฝ่ายวิชาการเร่งรัดด้วย
-การจัดกิจกรรม Home room ของครูประจำชั้น
-งานวงดนตรีบูรณแบนด์
-Portfolio บางคนยังไม่ได้ส่ง
งานทวงถามเงินต่างๆ ที่ค้างชำระ (สรุปเมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 1/2550 โดยประมาณ 15 พ.ย.2550)
-ค่ารถบัส 32,350 บาท
-ค่าคอมพิวเตอร์ 31,100 บาท
-ค่าอาหาร 9,900 บาท
-ค่าอุปกรณ์ 31,140 บาท
หลังจากที่ได้แจ้งให้ผู้ปกครองมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาต่างๆ ของภาคเรียนที่ 2/2550 ระหว่าง วันที่ 1-15 พ.ย.2550 สรุปผลได้ดังนี้
-อนุบาล · ค่าธรรมเนียมการเรียน จำนวน 122 คน เก็บได้ 48 คน เหลือ 74 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 39.34 · ค่าอาหารอนุบาล จำนวน 50 คน เก็บได้ 19 คน เหลือ 31 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 38
· ค่ารถบัส จำนวน 49 คน เก็บได้ 24 คน เหลือ 25 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 48.97
-ประถม มัธยม · ค่ารถบัส 312 คน เก็บได้ 91 คน เหลือ 221 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 29.16
การทวงถามเงินค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระของให้คุณครูประจำชั้นเป็นผู้รับผิดชอบตรง ฝ่ายบัญชีรายงานความคืบหน้าให้ทราบทุกสัปดาห์
การเตรียมงานต่อไป
-17 พ.ย.2550 การสอบโครงการตอบปัญหาธรรมทางก้าวหน้า
-การจัดกิจกรรมวันลอยกระทง (23 พ.ย.2550)
-พิธีเปิดและปิดมหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ (28 และ 30 พ.ย.2550) ณ สนามกีฬากลาง ค่ายบุรฉัตร
-การส่งเด็กนักเรียนสอบโครงการธรรมศึกษาสนามหลวง (ม.1-ม.3) ในวันที่ 29 พ.ย.2550
-การสนับสนุนการแสดงดนตรีวงบูรณแบนด์ แก่สโมสรชั้นประทวน วันที่ 4 ธันวาคม 2550
-การจัดงานวันที่ 5 ธันวามหาราช (วันพ่อ)
-การสนับสนุนงานบุรณฉัตรมินิมาราธอน ครั้งที่ 1 วันที่ 9 ธันวาคม 2550
-การจัดการรณรงค์เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550
เก็บมาฝาก
แนะนำวิธีอ่านหนังสือเร็ว (พ.อ.สุชาต จันทรวงศ์ 10 พ.ย.2550)
เนื่องจากในปัจจุบัน มีข้อมูลข่าวสารอยู่มากมาย ทั้งในโลกแห่งความจริง และในโลกออนไลน์ ผู้เขียนเพียรพยายามที่จะหาวิธีอ่านข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ ให้เร็วขึ้นและมีเงื่อนไขว่าต้องเข้าใจด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ หนังสือ เอกสาร วารสาร และแม้แต่ อี-บุ๊ค ในอินเตอร์เน็ต มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ได้คิดค้นเทคนิคและวิธีการอ่านหนังสือให้เร็ว ไว้จำนวนมากมายหลายวิธีการ
เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2550 ผู้เขียนได้ไปร่วมประชุมทางวิชาการ เรื่อง ICT เพื่อการศึกษาไทย ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ผู้เขียนได้ซื้อหนังสือที่สำนักพิมพ์บิสคิตมาวางจำหน่ายอยู่หน้าห้องประชุม ชื่อเรื่องว่า “Speed Reading in a week” (อ่านไวใน 7 วัน) ซึ่งเขียนโดย Tina Konstant แปลโดย โอฬาร สุนทรภูษิต จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2550 นี้เอง หลังจากผู้เขียนได้อ่านแล้ว คิดว่าน่าจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ทราบกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องอ่านหนังสือจำนวนมาก ได้บ้างไม่มากก็น้อย
Konstant เธอได้แนะนำวิธีการอ่านหนังสือให้ไว ว่ามีเทคนิคการอ่านหลักๆ อยู่ 5 ขั้นตอน กล่าวคือ
1.Prepare (การเตรียมตัวอ่าน)
2.Preview (การอ่านแบบผ่าน)
3.Passive Reading (การอ่านแบบข้าม)
4.Active Reading (การอ่านแบบสรุป)
5.Selective Reading (การเลือกอ่าน)
Prepare (การเตรียมตัวอ่าน) ขั้นตอนแรกนี้ ผู้อ่านต้องพยายามถามคำถามที่สำคัญ 3 ข้อ คือ ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้? อะไรบ้างที่ผู้อ่านรู้อยู่แล้วในหนังสือเล่มนี้? และอะไรบ้างที่ผู้อ่านต้องการจะรู้จากหนังสือเล่มนี้? เมื่อได้คำตอบแล้ว ผู้อ่านต้องตั้งปณิธานให้แนวแน่ ไม่อยากนั้นอาจจะหลงทาง ต่อจากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้เลย
Preview (การอ่านแบบผ่าน) ขั้นตอนที่ 2 นี้ก็เพื่อทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของหนังสือที่อ่าน ซึ่งอาจใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้นเอง โดยหลักการอ่านแบบผ่านที่สำคัญ คือ
-สิ่งที่ต้องอ่าน : ปกหน้า ปกหลัง ปกด้านใน สารบัญ ดัชนี และบรรณานุกรม
-สังเกต : โครงสร้างของหนังสือ เช่น ชื่อบท หัวข้อหลัก หัวข้อรอง รูปภาพ กราฟ การ์ตูน และรูปถ่าย
-กำจัด : เนื้อหาในหนังสือที่ผู้อ่านมั่นใจ ว่าไม่ต้องอ่าน
-เน้น : เนื้อในหนังสือที่ผู้อ่านต้องการ
-ถามย้ำ : ถามตัวเองอีกครั้งว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้อ่านต้องการจากหนังสือเล่มนี้
Passive Reading (การอ่านแบบข้าม) การอ่านแบบนี้ Konstant บอกว่าหนังสือหนา 300 หน้า จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที เท่านั้นเอง โดยต้องพยายามสแกนแต่ละหน้าอย่างรวดเร็ว หาคำศัพท์ที่โดดเด่น สังเกตข้อความที่หนังสือ โดยเฉพาะข้อความที่เน้นตัวหนา ตัวเอียง พยายามทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่ใช้ในหนังสือ หากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคย
Active Reading (การอ่านแบบสรุป) หมายถึง การอ่านย่อหน้าแรกของแต่ละบท อ่านประโยคแรกของทุกๆ ย่อหน้า (และประโยคท้ายสุด ถ้าย่อหน้านั้นมีความยาวมาก) ขณะที่อ่านให้ใช้ปากกาเน้นข้อความ ขีดเส้นใต้ วงกลมใจความสำคัญ หรือจดสรุปความเข้าใจ หรือเขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mind map) ก็ได้
Selective Reading (การเลือกอ่าน) อ่านเฉพาะในสิ่งที่ผู้อ่านต้องการอ่าน อ่านเพื่อหาคำตอบที่ผู้อ่านค้นหา และหัวข้อต่างๆ ที่ผู้อ่านสนใจ (ตามปณิธานที่ผู้อ่านตั้งเอาไว้)
เทคนิคการอ่าน 5 ขั้นตอน นี้ หากจะทำให้การอ่านเร็วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีเทคนิคต่างๆ ที่ผู้อ่านต้องฝึกเพื่อประกอบเพิ่มเติมด้วย เช่น เทคนิคการอ่านเร็ว เทคนิคการจำสิ่งที่อ่าน เทคนิคการใช้สายตาเพิ่มประสิทธิผลในการอ่าน เทคนิคการกำจัดสิ่งรบกวนในการอ่าน เทคนิคการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ
Konstant ได้คิดเทคนิคประกอบดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้โดยไม่ยากเย็น แต่เราคิดไม่ถึง เช่น การใช้เครื่องมือช่วยในการอ่าน การอ่านแบบกวาด (Skimming) การอ่านแบบค้นหา (Scanning) เป็นต้น
การอ่านแบบ Skimming กับการอ่านแบบ Scanning หลายคนอาจสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร อธิบายง่ายนิดเดียว อ่านแบบ Scanning คือ เมื่อเจอข้อมูลที่ต้องการก็เลิกอ่าน อ่านแบบ Skimming คือ เมื่อเจอข้อมูลแล้วจะยังไม่หยุดอ่าน จนกว่าผู้อ่านอยากจะหยุดอ่านเอง
ที่เขียนมานี้เป็นเพียงเรื่องราวบางส่วน ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้พวกเราได้ทราบและเข้าใจเทคนิคการอ่านเร็วในเบื้องต้น แต่หากท่านใดต้องการทราบในรายละเอียดเพื่อฝึกฝนตนเองก็คงต้องหาซื้อหนังสืออ่านเอา หรือถ้าไม่อยากซื้อหนังสือ ก็ลองอีเมล์ในสิ่งที่ท่านต้องการอยากทราบเพิ่มเติมมาได้ที่ผู้เขียน s463368@hotmail.com แล้วผู้เขียนจะพยายามค้นหาตอบจากหนังสือดังกล่าวดู และตอบให้ท่านทราบต่อไป
ข้อคิด
ธรรมชาติของต้นกล้วยเมื่อออกดอกผลแล้วก็จะตาย ผมไม่อยากให้ครูของผม เป็นครูแบบต้นกล้วย ( Banana Teacher) จงเป็นครูอย่างต้นโพธิ์ ซึ่งนับวัน ยิ่งจะแผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่ผู้คนเรื่อยไป ((พันเอกสุชาต จันทรวงศ์ 15 พ.ย.2550)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น