เรื่องชี้แจงจากกองพลทหารช่างที่สำคัญ
-มีพฤติกรรมนายสิบ ไปหลอกเด็กนักเรียนหญิงข้างนอก โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต
-ยาเสพติดในค่ายฯ พลทหารเก่าที่ปลดไปแล้ว นำมาขาย
-การเลือกตั้ง ส.อบต. หมู่ 7 และนายก อบต.เกาะพลับพลา ประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2551
-ช่วยกันรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก
-ให้มีการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทยแก่กำลังพลและครอบครัว
-เรื่องที่ได้รับมอบหมายจากกองพลทหารช่าง ให้โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ โครงการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้แก่กำลังพลและครอบครัว ในค่ายบุรฉัตร
เรื่องชี้แจงและสั่งการ
-ขอขอบคุณ คณะครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ได้ช่วยกันหาเงินเข้ากองทุนเพื่อการศึกษาฯ และการจัดอบรม e-learning ที่ผ่านมา
-การให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ต้องช่วยกัน แม้ว่าตนเองจะไม่มีในคำสั่ง นั่นไม่ใช่หมายความว่า ตัวเองไม่สนใจ ธุระไม่ใช่
- คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้น ขอให้ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องที่เด็กอ่านหนังสือไม่ออก ฯลฯ
-เรื่องทุนการศึกษา กำหนดมอบในกิจกรรมวันแม่ฯ ขอให้คณะกรรมการฯ รีบพิจารณา
-การรายงานหลังไปอบรมหรือสัมมนา ให้รายงานทุกครั้งทันทีที่กลับมา ตามแบบรายงานการเข้ารับการอบรมและสัมมนา (ทบอ.14)
-การบันทึกของนักเรียนในระเบียนสะสม ขอให้คุณครูประจำชั้น ช่วยบันทึกด้วย ตรวจดูไม่ทันสมัย เช่น รูป ชื่อที่อยู่ผู้ปกครอง สถานที่ทำงาน การติดต่อสื่อสาร การบันทึกความดีหรือผลงานของเด็ก ที่ควรบันทึก ขอให้ครูประจำชั้นได้ให้ความสนใจด้วย หากต้องการถ่ายรูป ให้ขอรับการสนับสนุนได้ทันทีที่ บูรณสตูดิโอ (ราคาไม่แพง)
-ขอให้ช่วยรณรงค์ให้เด็กนักเรียนทำแฟ้มสะสมงานของตัวเอง โดยเฉพาะเด็กที่จะจบ ป.6 และ ม.3 ฝากคุณครูประจำชั้นด้วย
-แต่งตั้ง รักษาการ หน.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูจิรารัตน์ ชาวดง
- อยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง ช่วยกันรณรงค์หาเด็กเพิ่มเติม
การจัดการเรียนการสอน
-จิตใจยุติธรรม ไม่เอนเอียง
-การเขียนหนังสือและการจับปากกา
-การมีทักษะทางด้านเทคโนโลยี
-การพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนโดยนักเรียนเอง คุณครูประจำชั้นให้พยายามกระตุ้นให้เด็กคิดได้เอง เช่น บอร์ดหน้าห้อง วันเข้าพรรษา วันอาสาฬบูชา เป็นต้น ขอให้คณะกรรมการฯ ประเมินผลทุกเดือน (ควรประเมินตลอดเวลา)
-ช่วยกันว่ากล่าวตักเตือนนักเรียนเมื่อพบเห็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
-เรื่องการสอนลูกเสือสามัญและสามัญรุ่นใหญ่ ยังรู้สึกสับสนอยู่
-เรื่องการสังเกตความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็ก
-เรื่องอย่าให้เกิดช่องว่างทางจิตใจของเด็กนักเรียนที่พิการ
การจัดกิจกรรรมชุมนุม
- ขอให้ทุกชุมนุมทำอย่างจริงจัง และอนาคตจะเป็นฐานในการส่งนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมของแต่ละชุมนุม
-มีครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มเติม ชุมนุมศิลปะป้องกันตัว ได้แก่ ดาบและมวยไทย
-เงิน 3,000 บาท เหมาจ่าย บริหารจัดการเอง หากต้องการเพิ่มเติมต้องชี้แจงบัญชีเดิมให้ชัดเจน ชุมนุมใดที่มีรายได้ของให้จัดทำบัญชีด้วย พยายามให้เด็กนักเรียนเป็นผู้จัดทำ
-ขอให้มีร่องรอยหลักฐานต่างๆ ที่นักเรียนเข้าชุมนุม เพื่อการประเมิน ไม่ควรเอาภาระนี้ไปให้ครูภูมิปัญญา ครูที่ปรึกษาชุมนุมต้องทำเอง
การจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ใหม่
ศูนย์วิทยุโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์ (ศวท.บูรณวิทยา) มอบหมายให้ จ.ส.อ.กมล บัวทอง เป็น หน.ศูนย์ ,จ.ส.อ.สมใจ ไชยยุทธ์ ส.อ.สุธนธ์ ธนะภูมิชัย ปัทมา นิลตา และรัชดา พินิจกุล เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ เป็นการบูรณการการเรียนรู้เกือบทุกมาตรฐาน ขอให้คุณครูที่รับผิดชอบช่วยกันคิดว่าจะให้เด็กได้มีการเรียนรู้อย่างไร
-เสียงทางสายภายในโรงเรียน
-โทรทัศน์ภายในโรงเรียน
-โทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียม
-เคเบิลทีวีของค่ายบุรฉัตร ช่องบูรณวิทยา(BUTV)
-คอมพิวเตอร์
-เครื่องเล่นDVD/VCD
-จัดรายการโทรทัศน์
-จัดรายการวิทยุ
-ประชาสัมพันธ์
-ห้องสมุด(LCD TV) 1 เครื่อง
-ห้องอนุบาล 7 เครื่อง
-ป.1 1 เครื่อง
-ห้องสายใยรัก 1 เครื่อง
-โรงอาหาร 2 เครื่อง
-ผู้อำนวยการ 1 เครื่อง
-ธุรการ 1 เครื่อง
-ห้องพักครู (อาคาร 2) 1 เครื่อง*
-ห้องปฏิบัติการทางภาษา(LCD TV) 1 เครื่อง*
-ห้องวิทยาศาสตร์(LCD TV) 1 เครื่อง*
-สหกรณ์ร้านค้า 1 เครื่อง*
-ห้องแนะแนว 1 เครื่อง*
-ระเบียงอาคาร 1 ชั้นบน 2 เครื่อง*
-ระเบียงอาคาร 2 ชั้นบน 2 เครื่อง*
-ระเบียงอาคาร 2 ชั้นล่าง 2 เครื่อง*(* แผนอนาคต)
-คอมพิวเตอร์
-วิทยุชุมชน
-บุรฉัตรแชนนอล
-เพลงMP3
-Power point
ห้องดนตรีและนาฎศิลป์ (ข้างห้องศิลปะของครูธเนตร์) ขอให้บูรณการใช้ร่วมกันให้ได้ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
ห้องเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียทั่วไป จำนวน 2 ห้อง จะพัฒนาที่ห้องสายใยรัก และห้องปฏิบัติการทางภาษา (LCD TV+COMPUTER)
ห้องเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง จะพัฒนาที่ห้องวิทยาศาสตร์ (LCD TV+COMPUTER)
การจัดกิจกรรรมธนาคารโรงเรียน
-เปิดกู้ไม่เกิน 10 เท่าของเงินฝากประจำ
-รณรงค์ให้เด็กหัดออมและประหยัด
-การจ่ายเงินงบประมาณต่างๆ จะพยายามผ่านทางธนาคารโรงเรียนให้มากที่สุด
บูรณะแฮร์คัท ดำเนินการโดย คณะกรรมการเครือขายผู้ปกครอง มีความมุ่งหวังเพื่อช่วยเหลือเด็ก ราคา 10 บาท (ให้คนตัด 7 บาท เข้ากองทุนการศึกษาฯ 3 บาท) ขอให้ครูทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์และเชิญชวน
ตลาดนัดบูรณะ (ถนนคนเดิน และลานวัฒนธรรม)
-ดำเนินการโดยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ร่วมกับโรงเรียน
-ทุกวันศุกร์ต้นเดือนและกลางเดือน เริ่มศุกร์ที่ 1 ส.ค.2551 (70 ล็อคๆ 30 บาท)
-มีลานให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกทางวัฒนธรรมหรือกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ (เปิดกว้าง)
-มีลานกีฬาให้ เด็กและเยาวชนได้แข่งขันในรูปแบบต่างๆ (เปิดกว้าง)
-ให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้อาชีพค้าขายด้วยการปฏิบัติจริง
-อยากให้ชุมนุมต่างๆ เตรียมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกบนลานวัฒนธรรม และหากเป็นไปได้ชุมนุมใดที่สามารถจะผลิตสินค้ามาขายได้ ขอให้จองล็อคได้เลย
-เงินที่ได้จากการจัดตลาดนัดเข้า “กองทุนเพื่อการศึกษาของโรงเรียน”
การคัดเลือกคนดี 8 คุณธรรมพื้นฐาน (ขอทราบความคืบหน้า)
การแห่เทียนพรรษา (หารือ)
วันภาษาไทยแห่งชาติ
-ให้กลุ่มสาระภาษาไทยเป็นเจ้าภาพหลัก
-กลุ่มสาระอื่นๆ และชุมนุมต่างๆ รวมทั้งห้องสมุด เสนอทำกิจกรรมอย่างน้อย 1 กิจกรรม
-รณรงค์และเริ่มกิจกรรมได้ตั้งแต่ 21 ก.ค.2551 – วันภาษาไทย
-ขอให้เป็นกิจกรรมที่ใหญ่และแสดงถึงศักยภาพของโรงเรียน และสามารถเชิญชวนคนนอก ผู้ปกครองและชุมชนมาร่วมงานได้
การติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเมืองของประเทศ
๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ ภาษาไทย สมบัติของคนไทย
การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวันจนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้หลายๆคนไม่รู้สึกว่า “ ภาษาไทย ” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “ อากาศ ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่า ว่าหากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ ภาษาไทย ” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ ภาษาไทย ” เมื่อไร นั่นก็หมายความว่า “ ความเป็นชาติ ” ส่วนหนึ่งก็สูญสิ้นไปด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “ ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไรที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน ” คนไทยเราแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติ ต่างท้องถิ่น หรือต่างศาสนา แต่เมื่อใดก็ตามที่เราต่างพูด “ ภาษาไทย ” ทุกคนย่อมรู้สึกได้ทันทีถึงความเป็นพวกเดียวกัน ความเป็นชาติเดียวกัน ดังนั้น “ ภาษา ” จึงเป็นสิ่งที่จะร้อยรัด และ ผูกพันคนในชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งหากอาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ไปเที่ยว ถ้าได้ยินใครก็ตามพูด “ ภาษาไทย ” ขึ้นมา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกยินดีว่าเจอพวกเดียวกันแล้ว เจอคนไทยด้วยกันแล้ว
การที่ “ ภาษา ” เป็นสิ่งสำคัญก็เพราะว่า ภาษาเป็นสื่อเสียงและสื่อสัญลักษณ์ของมนุษยชาติที่เกิดจากการสร้างสรรค์ และสั่งสมของบรรพบุรุษสืบทอดมาสู่ลูกหลาน เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชาตินั้นๆติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ และเป็นเหตุให้วัฒนธรรมในด้านอื่นๆเจริญขึ้นด้วย หากไม่มี “ ภาษา ” มนุษย์ก็คงไม่สามารถสืบทอดวิชาการความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และไม่อาจพัฒนาหรือรักษา “ ความเป็นชาติ ” ของตนไว้ได้ “ ภาษา ” จึงเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งของแต่ละชาติ
อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตยสถาน ได้เคยเขียนคำนำในหนังสือ “ ภาษาของเรา ” ตอนหนึ่งว่า “ ในฐานะที่คนไทยเรา เป็นชาติที่มีวัฒนธรรมของตนเองมานับเป็นเวลาพันๆปี เรามีภาษาพูด ภาษาเขียน และเลขของเราใช้โดยเฉพาะ ซึ่งแม้แต่ชาติที่เจริญหรือเป็นมหาอำนาจอื่นๆบางชาติก็หามีครบอย่างเราไม่ บางชาติอาจจะมีแต่ภาษาพูด ขาดภาษาเขียน หรือบางชาติมีภาษาเขียน มีตัวหนังสือของตัวเอง แต่ขาดเลข ต้องขอยืมของชาติอื่นเขามาใช้ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่เราน่าจะภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เราจึงควรที่จะช่วยกันรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมในด้านภาษาของเราให้ยืนยงต่อไปตลอดกาล ชาติที่เป็นมหาอำนาจทางอาวุธ แต่ขาดอำนาจในทางวัฒนธรรมนั้น แม้จะเป็นผู้พิชิตทางด้านการทหาร ก็จะถูกพิชิตทางด้านวัฒนธรรม อย่างพวกตาดมองโกลที่พิชิตเมืองจีนแล้วตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นมาครองจีน ในที่สุดก็ถูกพวกจีนที่มีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนชาติหมด.....วัฒนธรรมจึงนับว่าสำคัญยิ่งในอันที่จะพิชิตใจคน การพิชิตทางกายนั้นอาจกลับถูกพิชิตได้ง่าย แต่ การพิชิตทางด้านวัฒนธรรมนั้นเป็นการพิชิตทางด้านจิตใจ จึงเป็นการพิชิตที่นุ่มนวล เป็นการพิชิตที่ผู้ถูกพิชิตยอมสมัครใจให้พิชิต วัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของไทย และเป็นวัฒนธรรมไทยแท้ๆก็คือ ภาษา ซึ่งแม้ต่อมา จะมีภาษาอื่นมาปะปนอยู่บ้าง แต่ก็เป็นภาษาที่ถูกเรากลืนให้เป็นไทยหมดแล้วทั้งนั้น จึงนับว่าเป็นภาษาไทยโดยแท้ ”
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้วิถีชีวิตของประชาชนคนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายแล้ว อิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ ยังมีส่วนทำให้ “ ภาษาไทย ” ที่ใช้ในปัจจุบันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนอยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมลงอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยเองได้ละเลยต่อความสำคัญในการใช้ภาษาไทย และมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนในการสื่อสารมากขึ้นทุกที จนเป็นที่น่าวิตกว่า หากไม่รีบช่วยกันแก้ไข นานไปเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยอาจสูญหายไปจนหมดสิ้น
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง “ วันภาษาไทย ” ขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของภาษาไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปีเป็น “ วันภาษาไทยแห่งชาติ ” ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านในด้านภาษาไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนชาวไทย ได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และรักษาภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป การที่กำหนดเป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จฯไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย ซึ่งได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง และนับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว
พระราชดำรัสในครั้งนั้น ตอนหนึ่งความว่า “ เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ ...... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก ...” นอกจากนี้ยังมีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒ ความว่า “ ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะตัองรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ ”
ในหนังสือ “ ภาษาไทยเรานี้มีทำนอง ” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวว่าชาติไทยเป็นชาติที่มีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตกาล บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีที่น่าภาคภูมิใจ
“ ภาษาไทย ” เป็นภาษาที่มีการจัดวางระเบียบแบบแผนไว้อย่างประณีตบรรจง มีอลังการแห่งศิลปะของการผสมผสานเรียงร้อยถ้อยคำให้เป็นท่วงทำนองที่ไพเราะและเหมาะสมอย่างยิ่ง ดังนั้น ในโอกาส “ วันภาษาไทย ” ที่ ๒๙ กรกฎาคม ศกนี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านได้น้อมรำลึกและปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ด้วยการช่วยกันธำรงรักษา “ ภาษาไทย ” ที่น่าภาคภูมิใจของเรา ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าสืบทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นหลังอย่างถูกต้องและงดงามตลอดไป
..............................................
อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่มา http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2549&MM=6&DD=2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น