วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การชี้แจงและสั่งการจากผู้อำนวยการ เมื่อ 20 ส.ค.2551

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

เรื่องชี้แจงจากการประชุมของกองพลทหารช่างที่สำคัญ
-ครูผดุงศักดิ์ ภัตติชาติ ชี้แจง

เรื่องการแข่งขันทักษะวิชาการ ระดับเครือข่าย
-ครูเจตนา ศิริมงคล ชี้แจง

เรื่องชี้แจงและสั่งการของผู้อำนวยการ
-ขอขอบคุณ คณะครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ได้ช่วยกันจัดตลาดบูรณะ (ถนนคนเดิน ลานกีฬาและวัฒนธรรม) และร่วมส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา จ.ราชบุรี ประจำปีการศึกษา 2551 สรุป โรงเรียนฯ ได้เหรียญรวม 33 เหรียญ ได้แก่ 9 เหรียญทอง 10 เหรียญเงิน 14 เหรียญทองแดง และได้ถ้วยคะแนนรวมประเภทกรีฑา อายุไม่เกิน 12 ปีชาย
-เรื่องการแข่งขันทักษะวิชาการ มอบหมายให้ฝ่ายวิชาการ ไปปรึกษาหารือกับ งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระ และชุมนุมที่เกี่ยวข้อง หาครูผู้รับผิดชอบในแต่ละทักษะ แต่ละกิจกรรม ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อจะได้พัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง แล้วยกร่างให้เป็นคำสั่งของโรงเรียน

เรื่องทุนการศึกษา คณะกรรมการได้ประชุมหารือ และกำลังยกร่างระเบียบว่าด้วยทุนการศึกษาของโรงเรียน กองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา พ.ศ.2551 สรุปโดยสังเขป ประเภทของทุนการศึกษา มีดังนี้
1.ทุนเรียนดี แต่ขาดแคลนทรัพยากร
1.1. ระดับอนุบาล 800 บาท/ปี/ทุน
1.2. ระดับช่วงชั้นที่ 1 1,000 บาท/ปี/ทุน
1.3. ระดับช่วงชั้นที่ 2 1,200 บาท/ปี/ทุน
1.4. ระดับช่วงชั้นที่ 3 1,500 บาท/ปี/ทุน
2.ทุนเรียนดี ฝ่ายวิชาการกำลังพิจารณา
3.ทุนคนดีประจำเดือน 50 บาท/คน/ห้อง พร้อมเกียรติบัตร (50X19X8 = 7,600 บาท)
4.ทุนลูกอุปถัมภ์บูรณวิทยา (ต่อเนื่อง)
4.1. ป.1 = 1,000 บาท/เทอม
4.2. ป.4 = 1,200 บาท/เทอม
4.3. ม.1 = 1,500 บาท/เทอม
5. ทุนส่งเสริมสุขภาพ ช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่มีเงินรักษาตัวเอง

ให้เด็กนักเรียนทำแฟ้มสะสมงานของตัวเอง ครบ 100% ภายในสิ้นปีการศึกษา 2551
- ครูประจำชั้นแนะนำการทำแฟ้มสะสมงานให้นักเรียนในชั้น และสั่งการให้นักเรียนในชั้นทำทุกคน มีการตรวจแฟ้มสะสมของนักเรียน ตามระยะเวลา
-ชุมนุมสหกรณ์ หาแฟ้มสะสมงานมาจำหน่าย
-บูรณสตูดิโอ สนับสนุนเรื่องการค้นหาข้อมูล และพิมพ์รูปภาพให้แก่เด็ก ในราคาถูก
-ห้องสมุด จัดแฟ้มสะสมงานตัวอย่าง (ของครู) ไว้ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
-ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ครูธเนตร์ เดชแดง และครูนิคม เรืองกูล จัดทำสื่อต่างๆ รณรงค์เชิญชวนให้นักเรียนจัดทำแฟ้มสะสมงาน
-โรงเรียนจะจัดให้มีการประกวดแฟ้มสะสมงานของนักเรียน แต่ละระดับชั้น (ชั้นละ 3 รางวัล) ก่อนปิดภาคเรียนที่ 1 และประกวดประจำปี เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2551

การจัดการเรียนการสอน
-ครูอย่าทิ้งนักเรียน อย่าเอาเปรียบเด็ก ใครที่ยังสอนไม่ทันตามแผนการสอน ขอให้รีบพิจารณาแก้ไขปัญหา โดยปรึกษากับฝ่ายวิชาการ
-การเก็บเงิน หรือการขอบริจาคเงินจากนักเรียน ต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการ
-ฝ่ายวิชาการ ครูธเนตร์ เดชแดง ร่วมกับฝ่ายธุรการ จัดทำป้ายบอกสถานภาพการจัดการเรียนการสอน ไว้หน้าห้องเรียน (ดูอย่างแบบป้ายเวร หน้าห้องธุรการ) ประกอบด้วยวิชาที่สอน และครูผู้สอน และมอบหมายให้นักเรียนเป็นผู้ติดป้ายเองทุกคาบ
-ฝ่ายวิชาการ ร่วมกับงานแนะแนว จัดนิเทศครูทุกระดับชั้น ประจำภาคเรียนที่ 1/2551 ตั้งแต่ 25 ส.ค.2551 – 12 ก.ย.2551 ( หาวิธีการนิเทศที่เหมาะสม ร่างคำสั่ง และรายงานผลการนิเทศให้ทราบเมื่อจบ)

ศูนย์วิทยุโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์ (ศวท.บูรณวิทยา) ขอให้ครูกลุ่มสาระและกลุ่มงานต่างๆ รับผิดชอบจัดรายการตามผังรายการที่กำหนดไว้ด้วย ควรคิดให้ได้ว่าจะให้นักเรียนทำอะไร

การประเมินผลภาคเรียนที่ 1/2551
-อนุบาล วันที่ 29-30 ก.ย. 2551 ปิดภาคเรียน 1 ต.ค 2551 – 2 พ.ย.2551
-ช่วงชั้นที่ 1-3 วันที่ 2-3 ต.ค.2551 ปิดภาคเรียน 4 ต.ค 2551 – 2 พ.ย.2551
-29 ส.ค.2551 ฝ่ายวิชาการส่งข้อสอบประเมินผลให้ฝ่ายวัดผล (วันสุดท้าย)
-การออกข้อสอบของครู - ขอให้เป็นไปตามมาตรฐาน

หนังสือเวียนอ่านสำหรับครู ก็ให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากครูท่านใดรบกพร่องไม่ตรงเวลา และไม่ส่งต่อ จะทำให้ครูคนหลังต่อจากเราเดือดร้อน

หลักเกณฑ์ของผู้ประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มติคณะกรรมการคุรุสภา เมื่อ 24 มิ.ย.2551) (ส่งคำขอล่วงหน้า 180 วัน – 7 มิ.ย.2552)

-หลักเกณฑ์การพิจารณาตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพ (ส่วนใหญ่ใช้ของเดิม-ไม่มีปัญหา)

-หลักเกณฑ์การพิจารณาตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ต้องมีผลการพัฒนาตามรายการกิจกรรมที่คุรุสภากำหนด ไม่น้อยกว่า 3 กิจกรรม ภายใน 5 ปี ดังนี้
1.การเข้ารับการศึกษาให้มีวุฒิเพิ่มขึ้นในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
2.การเข้ารับการอบรมและได้รับวุฒิบัตรแสดงความชำนาญการในการประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา
3.การผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่
4.การผ่านการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาประเมิน
5.การเป็นวิทยากรในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา
6.การเขียนตำรา บทความ ผลงานทางวิชาการในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา
7.การสร้างนวัตกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ หรือที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
8.การทำวิจัยในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้และการศึกษา
9.การได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลของคุรุสภา หรือของหน่วยงานอื่น
10.การเข้าฟังบรรยาย อภิปราย ประชุมปฏิบัติการ ประชุมสัมมนา หรืออื่นๆ โดยมีการลงทะเบียนและมีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
11.การจัดทำผลงานหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภาจะกำหนด และให้ค่าหน่วยคะแนน

-หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ (รับรองโดยผู้บังคับบัญชาของผู้ขอต่อใบประกอบวิชาชีพ)
1.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาการทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
2.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
3.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลงัใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
6.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
7.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
8.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
9.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เรื่องอื่นๆ
-คณะกรรมการประเมินห้องเรียนให้ทำการประเมินอย่างต่อเนื่อง สำหรับห้องที่ต่ำกว่าเกณฑ์คงเป็นห้องเดิมๆ แสดงถึงการไม่ใส่ใจของครูประจำชั้น
- ครูที่ส่งหัวข้อการวิจัยในชั้นเรียนแล้วให้เริ่มเข้ามาปรึกษาได้ทันที ต้องสามารถเค้าโครงการวิจัย และนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา ให้แล้วเสร็จก่อนปิดภาคเรียนที่ 1/2551 นี้เพื่อทำการวิจัยเมื่อเปิดภาคเรียนที่ 2/2551
-ในเทอมต่อไปจะมีการขึ้นค่ารถรับ-ส่ง นักเรียน เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา
-ครูประจำชั้นช่วยติดตามเงินของนักเรียนที่ติดค้างชำระ ค่าเล่าเรียน ค่าอุปกรณ์ ค่ารถบัส ค่าคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ด้วย เนื่องจากจะปิดภาคเรียนที่ 1/2551 แล้ว
- เรื่องการใช้จ่ายเงิน เวลาเบิก ขอให้พยายามระบุรายละเอียดให้มากที่สุด และขอให้รีบสรุปโดยเร็วเมื่อเสร็จงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูล และอย่าพยายามเขียนรายจ่ายให้หมดตามงบประมาณที่มี ขอให้เขียนตามที่ใช้จริง
-การใช้จ่ายเงินของชุมนุม ควรสอนนักเรียนในชุมนุมหัดทำบัญชี
- ฝากให้ครูที่ปรึกษาคณะกรรมการนักเรียน แจ้งให้คณะกรรมการนักเรียน พิจารณายกร่าง ข้อบังคับของสภานักเรียน โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป



เด็กๆ ก็เปรียบเสมือน “กล้าไม้” ที่มีคนนำมาฝากไว้
เพื่อให้พวกเราช่วยกันเลี้ยงดู อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
ดังนั้น เราต้องหมั่นดูแล รดน้ำ บำรุงดิน ใส่ปุ๋ย ตัดแต่ง
ให้กล้าไม้เหล่านั้น เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
สามารถต้านทานแดด ฝน ลมพายุในโลกอันกว้างใหญ่
ได้...อย่างสง่างาม
พ.อ.สุชาต จันทรวงศ์

การชี้แจงและสั่งการจากผู้อำนวยการ เมื่อ 10 ก.ค.2551

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา



เรื่องชี้แจงจากกองพลทหารช่างที่สำคัญ
-มีพฤติกรรมนายสิบ ไปหลอกเด็กนักเรียนหญิงข้างนอก โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต
-ยาเสพติดในค่ายฯ พลทหารเก่าที่ปลดไปแล้ว นำมาขาย
-การเลือกตั้ง ส.อบต. หมู่ 7 และนายก อบต.เกาะพลับพลา ประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2551
-ช่วยกันรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก
-ให้มีการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทยแก่กำลังพลและครอบครัว
-เรื่องที่ได้รับมอบหมายจากกองพลทหารช่าง ให้โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ โครงการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้แก่กำลังพลและครอบครัว ในค่ายบุรฉัตร

เรื่องชี้แจงและสั่งการ
-ขอขอบคุณ คณะครูและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ได้ช่วยกันหาเงินเข้ากองทุนเพื่อการศึกษาฯ และการจัดอบรม e-learning ที่ผ่านมา
-การให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ต้องช่วยกัน แม้ว่าตนเองจะไม่มีในคำสั่ง นั่นไม่ใช่หมายความว่า ตัวเองไม่สนใจ ธุระไม่ใช่
- คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้น ขอให้ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องที่เด็กอ่านหนังสือไม่ออก ฯลฯ
-เรื่องทุนการศึกษา กำหนดมอบในกิจกรรมวันแม่ฯ ขอให้คณะกรรมการฯ รีบพิจารณา
-การรายงานหลังไปอบรมหรือสัมมนา ให้รายงานทุกครั้งทันทีที่กลับมา ตามแบบรายงานการเข้ารับการอบรมและสัมมนา (ทบอ.14)
-การบันทึกของนักเรียนในระเบียนสะสม ขอให้คุณครูประจำชั้น ช่วยบันทึกด้วย ตรวจดูไม่ทันสมัย เช่น รูป ชื่อที่อยู่ผู้ปกครอง สถานที่ทำงาน การติดต่อสื่อสาร การบันทึกความดีหรือผลงานของเด็ก ที่ควรบันทึก ขอให้ครูประจำชั้นได้ให้ความสนใจด้วย หากต้องการถ่ายรูป ให้ขอรับการสนับสนุนได้ทันทีที่ บูรณสตูดิโอ (ราคาไม่แพง)
-ขอให้ช่วยรณรงค์ให้เด็กนักเรียนทำแฟ้มสะสมงานของตัวเอง โดยเฉพาะเด็กที่จะจบ ป.6 และ ม.3 ฝากคุณครูประจำชั้นด้วย
-แต่งตั้ง รักษาการ หน.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูจิรารัตน์ ชาวดง
- อยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง ช่วยกันรณรงค์หาเด็กเพิ่มเติม


การจัดการเรียนการสอน
-จิตใจยุติธรรม ไม่เอนเอียง
-การเขียนหนังสือและการจับปากกา
-การมีทักษะทางด้านเทคโนโลยี
-การพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนโดยนักเรียนเอง คุณครูประจำชั้นให้พยายามกระตุ้นให้เด็กคิดได้เอง เช่น บอร์ดหน้าห้อง วันเข้าพรรษา วันอาสาฬบูชา เป็นต้น ขอให้คณะกรรมการฯ ประเมินผลทุกเดือน (ควรประเมินตลอดเวลา)
-ช่วยกันว่ากล่าวตักเตือนนักเรียนเมื่อพบเห็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
-เรื่องการสอนลูกเสือสามัญและสามัญรุ่นใหญ่ ยังรู้สึกสับสนอยู่
-เรื่องการสังเกตความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็ก
-เรื่องอย่าให้เกิดช่องว่างทางจิตใจของเด็กนักเรียนที่พิการ


การจัดกิจกรรรมชุมนุม
- ขอให้ทุกชุมนุมทำอย่างจริงจัง และอนาคตจะเป็นฐานในการส่งนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะต่างๆ ตามลักษณะกิจกรรมของแต่ละชุมนุม
-มีครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มเติม ชุมนุมศิลปะป้องกันตัว ได้แก่ ดาบและมวยไทย
-เงิน 3,000 บาท เหมาจ่าย บริหารจัดการเอง หากต้องการเพิ่มเติมต้องชี้แจงบัญชีเดิมให้ชัดเจน ชุมนุมใดที่มีรายได้ของให้จัดทำบัญชีด้วย พยายามให้เด็กนักเรียนเป็นผู้จัดทำ
-ขอให้มีร่องรอยหลักฐานต่างๆ ที่นักเรียนเข้าชุมนุม เพื่อการประเมิน ไม่ควรเอาภาระนี้ไปให้ครูภูมิปัญญา ครูที่ปรึกษาชุมนุมต้องทำเอง


การจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ใหม่



ศูนย์วิทยุโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์ (ศวท.บูรณวิทยา) มอบหมายให้ จ.ส.อ.กมล บัวทอง เป็น หน.ศูนย์ ,จ.ส.อ.สมใจ ไชยยุทธ์ ส.อ.สุธนธ์ ธนะภูมิชัย ปัทมา นิลตา และรัชดา พินิจกุล เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ เป็นการบูรณการการเรียนรู้เกือบทุกมาตรฐาน ขอให้คุณครูที่รับผิดชอบช่วยกันคิดว่าจะให้เด็กได้มีการเรียนรู้อย่างไร
-เสียงทางสายภายในโรงเรียน
-โทรทัศน์ภายในโรงเรียน
-โทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียม
-เคเบิลทีวีของค่ายบุรฉัตร ช่องบูรณวิทยา(BUTV)
-คอมพิวเตอร์
-เครื่องเล่นDVD/VCD
-จัดรายการโทรทัศน์
-จัดรายการวิทยุ
-ประชาสัมพันธ์
-ห้องสมุด(LCD TV) 1 เครื่อง
-ห้องอนุบาล 7 เครื่อง
-ป.1 1 เครื่อง
-ห้องสายใยรัก 1 เครื่อง
-โรงอาหาร 2 เครื่อง
-ผู้อำนวยการ 1 เครื่อง
-ธุรการ 1 เครื่อง
-ห้องพักครู (อาคาร 2) 1 เครื่อง*
-ห้องปฏิบัติการทางภาษา(LCD TV) 1 เครื่อง*
-ห้องวิทยาศาสตร์(LCD TV) 1 เครื่อง*
-สหกรณ์ร้านค้า 1 เครื่อง*
-ห้องแนะแนว 1 เครื่อง*
-ระเบียงอาคาร 1 ชั้นบน 2 เครื่อง*
-ระเบียงอาคาร 2 ชั้นบน 2 เครื่อง*
-ระเบียงอาคาร 2 ชั้นล่าง 2 เครื่อง*(* แผนอนาคต)
-คอมพิวเตอร์
-วิทยุชุมชน
-บุรฉัตรแชนนอล
-เพลงMP3
-Power point

ห้องดนตรีและนาฎศิลป์ (ข้างห้องศิลปะของครูธเนตร์) ขอให้บูรณการใช้ร่วมกันให้ได้ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น



ห้องเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียทั่วไป จำนวน 2 ห้อง จะพัฒนาที่ห้องสายใยรัก และห้องปฏิบัติการทางภาษา (LCD TV+COMPUTER)


ห้องเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง จะพัฒนาที่ห้องวิทยาศาสตร์ (LCD TV+COMPUTER)


การจัดกิจกรรรมธนาคารโรงเรียน
-เปิดกู้ไม่เกิน 10 เท่าของเงินฝากประจำ
-รณรงค์ให้เด็กหัดออมและประหยัด
-การจ่ายเงินงบประมาณต่างๆ จะพยายามผ่านทางธนาคารโรงเรียนให้มากที่สุด


บูรณะแฮร์คัท ดำเนินการโดย คณะกรรมการเครือขายผู้ปกครอง มีความมุ่งหวังเพื่อช่วยเหลือเด็ก ราคา 10 บาท (ให้คนตัด 7 บาท เข้ากองทุนการศึกษาฯ 3 บาท) ขอให้ครูทุกคนช่วยกันประชาสัมพันธ์และเชิญชวน


ตลาดนัดบูรณะ (ถนนคนเดิน และลานวัฒนธรรม)
-ดำเนินการโดยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ร่วมกับโรงเรียน
-ทุกวันศุกร์ต้นเดือนและกลางเดือน เริ่มศุกร์ที่ 1 ส.ค.2551 (70 ล็อคๆ 30 บาท)
-มีลานให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกทางวัฒนธรรมหรือกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ (เปิดกว้าง)
-มีลานกีฬาให้ เด็กและเยาวชนได้แข่งขันในรูปแบบต่างๆ (เปิดกว้าง)
-ให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้อาชีพค้าขายด้วยการปฏิบัติจริง
-อยากให้ชุมนุมต่างๆ เตรียมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกบนลานวัฒนธรรม และหากเป็นไปได้ชุมนุมใดที่สามารถจะผลิตสินค้ามาขายได้ ขอให้จองล็อคได้เลย
-เงินที่ได้จากการจัดตลาดนัดเข้า “กองทุนเพื่อการศึกษาของโรงเรียน”


การคัดเลือกคนดี 8 คุณธรรมพื้นฐาน (ขอทราบความคืบหน้า)

การแห่เทียนพรรษา (หารือ)

วันภาษาไทยแห่งชาติ
-ให้กลุ่มสาระภาษาไทยเป็นเจ้าภาพหลัก
-กลุ่มสาระอื่นๆ และชุมนุมต่างๆ รวมทั้งห้องสมุด เสนอทำกิจกรรมอย่างน้อย 1 กิจกรรม
-รณรงค์และเริ่มกิจกรรมได้ตั้งแต่ 21 ก.ค.2551 – วันภาษาไทย
-ขอให้เป็นกิจกรรมที่ใหญ่และแสดงถึงศักยภาพของโรงเรียน และสามารถเชิญชวนคนนอก ผู้ปกครองและชุมชนมาร่วมงานได้

การติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเมืองของประเทศ


๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ ภาษาไทย สมบัติของคนไทย

การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวันจนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้หลายๆคนไม่รู้สึกว่า “ ภาษาไทย ” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “ อากาศ ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่า ว่าหากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ ภาษาไทย ” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ ภาษาไทย ” เมื่อไร นั่นก็หมายความว่า “ ความเป็นชาติ ” ส่วนหนึ่งก็สูญสิ้นไปด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “ ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไรที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน ” คนไทยเราแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติ ต่างท้องถิ่น หรือต่างศาสนา แต่เมื่อใดก็ตามที่เราต่างพูด “ ภาษาไทย ” ทุกคนย่อมรู้สึกได้ทันทีถึงความเป็นพวกเดียวกัน ความเป็นชาติเดียวกัน ดังนั้น “ ภาษา ” จึงเป็นสิ่งที่จะร้อยรัด และ ผูกพันคนในชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งหากอาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ไปเที่ยว ถ้าได้ยินใครก็ตามพูด “ ภาษาไทย ” ขึ้นมา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกยินดีว่าเจอพวกเดียวกันแล้ว เจอคนไทยด้วยกันแล้ว
การที่ “ ภาษา ” เป็นสิ่งสำคัญก็เพราะว่า ภาษาเป็นสื่อเสียงและสื่อสัญลักษณ์ของมนุษยชาติที่เกิดจากการสร้างสรรค์ และสั่งสมของบรรพบุรุษสืบทอดมาสู่ลูกหลาน เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชาตินั้นๆติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ และเป็นเหตุให้วัฒนธรรมในด้านอื่นๆเจริญขึ้นด้วย หากไม่มี “ ภาษา ” มนุษย์ก็คงไม่สามารถสืบทอดวิชาการความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และไม่อาจพัฒนาหรือรักษา “ ความเป็นชาติ ” ของตนไว้ได้ “ ภาษา ” จึงเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งของแต่ละชาติ
อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตยสถาน ได้เคยเขียนคำนำในหนังสือ “ ภาษาของเรา ” ตอนหนึ่งว่า “ ในฐานะที่คนไทยเรา เป็นชาติที่มีวัฒนธรรมของตนเองมานับเป็นเวลาพันๆปี เรามีภาษาพูด ภาษาเขียน และเลขของเราใช้โดยเฉพาะ ซึ่งแม้แต่ชาติที่เจริญหรือเป็นมหาอำนาจอื่นๆบางชาติก็หามีครบอย่างเราไม่ บางชาติอาจจะมีแต่ภาษาพูด ขาดภาษาเขียน หรือบางชาติมีภาษาเขียน มีตัวหนังสือของตัวเอง แต่ขาดเลข ต้องขอยืมของชาติอื่นเขามาใช้ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่เราน่าจะภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เราจึงควรที่จะช่วยกันรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมในด้านภาษาของเราให้ยืนยงต่อไปตลอดกาล ชาติที่เป็นมหาอำนาจทางอาวุธ แต่ขาดอำนาจในทางวัฒนธรรมนั้น แม้จะเป็นผู้พิชิตทางด้านการทหาร ก็จะถูกพิชิตทางด้านวัฒนธรรม อย่างพวกตาดมองโกลที่พิชิตเมืองจีนแล้วตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นมาครองจีน ในที่สุดก็ถูกพวกจีนที่มีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนชาติหมด.....วัฒนธรรมจึงนับว่าสำคัญยิ่งในอันที่จะพิชิตใจคน การพิชิตทางกายนั้นอาจกลับถูกพิชิตได้ง่าย แต่ การพิชิตทางด้านวัฒนธรรมนั้นเป็นการพิชิตทางด้านจิตใจ จึงเป็นการพิชิตที่นุ่มนวล เป็นการพิชิตที่ผู้ถูกพิชิตยอมสมัครใจให้พิชิต วัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของไทย และเป็นวัฒนธรรมไทยแท้ๆก็คือ ภาษา ซึ่งแม้ต่อมา จะมีภาษาอื่นมาปะปนอยู่บ้าง แต่ก็เป็นภาษาที่ถูกเรากลืนให้เป็นไทยหมดแล้วทั้งนั้น จึงนับว่าเป็นภาษาไทยโดยแท้ ”
อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้วิถีชีวิตของประชาชนคนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายแล้ว อิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ ยังมีส่วนทำให้ “ ภาษาไทย ” ที่ใช้ในปัจจุบันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนอยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมลงอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยเองได้ละเลยต่อความสำคัญในการใช้ภาษาไทย และมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนในการสื่อสารมากขึ้นทุกที จนเป็นที่น่าวิตกว่า หากไม่รีบช่วยกันแก้ไข นานไปเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยอาจสูญหายไปจนหมดสิ้น
ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง “ วันภาษาไทย ” ขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของภาษาไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปีเป็น “ วันภาษาไทยแห่งชาติ ” ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านในด้านภาษาไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนชาวไทย ได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และรักษาภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป การที่กำหนดเป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จฯไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย ซึ่งได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง และนับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว
พระราชดำรัสในครั้งนั้น ตอนหนึ่งความว่า “ เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ ...... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก ...” นอกจากนี้ยังมีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒ ความว่า “ ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะตัองรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ ”
ในหนังสือ “ ภาษาไทยเรานี้มีทำนอง ” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวว่าชาติไทยเป็นชาติที่มีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตกาล บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีที่น่าภาคภูมิใจ
“ ภาษาไทย ” เป็นภาษาที่มีการจัดวางระเบียบแบบแผนไว้อย่างประณีตบรรจง มีอลังการแห่งศิลปะของการผสมผสานเรียงร้อยถ้อยคำให้เป็นท่วงทำนองที่ไพเราะและเหมาะสมอย่างยิ่ง ดังนั้น ในโอกาส “ วันภาษาไทย ” ที่ ๒๙ กรกฎาคม ศกนี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านได้น้อมรำลึกและปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ด้วยการช่วยกันธำรงรักษา “ ภาษาไทย ” ที่น่าภาคภูมิใจของเรา ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าสืบทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นหลังอย่างถูกต้องและงดงามตลอดไป
..............................................
อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่มา http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2549&MM=6&DD=2

การชี้แจงจากผู้อำนวยการ เมื่อ 8 พ.ค.2551

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

-การจัดห้องเรียน (เว้น)
-ประกาศรายชื่อห้องเรียนและที่ปรึกษา ก่อน 10 พ.ค.2551 ติดไว้ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ด้านอนุบาล-
-ออกข้อสอบปรับพื้นฐาน ป.1 = รัชนี 4 วิชา
-ออกข้อสอบปรับพื้นฐาน ป.4 = รัชนี 4 วิชา
-ออกข้อสอบปรับพื้นฐาน ม.1 = เจตนา 4 วิชา
-สอบบ่ายวันที่ 12 พ.ค.2551 ห้องใครห้องมัน

การปฏิบัติวันที่ 12 พ.ค.2551
-08.30 - 09.00 น. ผู้อำนวยการกล่าวต้อนรับ
-09.00 - 11.40 น. ปฐมนิเทศ ช่วงชั้นที่ 1 โรงอาหาร ช่วงชั้นที่ 2 และ 3 โรงยิมเนเซี่ยม
-3.00 – 15.30 น. พบครูที่ปรึกษา ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวินัยต่างๆ ในห้อง เช่น การทำเวร ฯลฯ และโฮมรูม
-13.00 – 15.00 น. ป.1, ป.4 และ ม.1 สอบปรับพื้นฐาน ตรวจคะแนนให้แล้วเสร็จ จัดห้องให้เรียบร้อยพร้อมประกาศการแบ่งห้องในวันรุ่งขึ้น

-งานตารางสอน
-ครูที่ปรึกษาประจำห้อง ดูแลความสะอาดห้องเรียนให้เรียบร้อย ประถม-มัธยม ว่างเปล่า อนุบาล-สวยงาม
-อาคารสถานที่ ห้องน้ำ ห้องเรียน สวน การเขียน

การชี้แจงจากผู้อำนวยการ เมื่อ 26 ก.พ.2551

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

ปฏิทินโรงเรียน
-วันอังคารที่ 26 ก.พ.2551 เดินรณรงค์เลือก สว.ภายในค่ายบุรณฉัตร
-วันพุธที่ 27 ก.พ.2551 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล สอบปลายภาควันที่ 1
-วันพฤหัสที่ 28 ก.พ.2551 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล สอบปลายภาควันที่ 2 นักเรียนระดับ ป.1-ม.3 สอบปลายภาควันที่ 1
-วันศุกร์ที่ 29 มี.ค.2551 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ซ้อมใหญ่บัณฑิตน้อย ณ สโมสรนายทหาร, นักเรียนระดับ ป.1-ม.3 สอบปลายภาควันที่ 2

-วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2551 -08.00-12.00 น.พิธีมอบวุฒิบัตรนักเรียนชั้นอนุบาล 3 (บัณฑิตน้อย) ณ สโมสรนายทหาร -08.00-16.00 น.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร ใช้ห้องประชุม -ซ้อมลีดเดอร์ -ครูตามรายชื่อประจำตามหน่วยเลือกตั้ง สว. รับหีบบัตรและฟังคำชี้แจง
-วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2551 -08.00-16.00 น.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร ใช้ห้องประชุม , ซ้อมลีดเดอร์, ครูตามรายชื่อประจำตามหน่วยเลือกตั้ง สว.
-วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2551 นักเรียน ป.4 - ม.2 ซ้อมเชียร์ ซ้อมลีดเดอร์ ซ้อมดนตรีไทย คุณครูเริ่มตรวจข้อสอบ และเปิดโอกาสให้นักเรียนซ่อมเสริม
-วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2551 นักเรียน ป.4 – ม.2 ซ้อมเชียร์ (ป.6 สอบ Onet) ซ้อมลีดเดอร์ ซ้อมดนตรีไทย นักเรียน “โครงการพิราบน้อยในโรวเรียน” จำนวน 40 คนเข้าค่ายที่โรงเรียน เริ่ม 08.00 น. (ผวจ.ราชบุรี,สพท.ร.บ.1 และ 2 และสมาคมสื่อมวลชนราชบุรี) ค้างคืนที่โรงเรียน
-วันพุธที่ 5 มีนาคม 2551 ซ้อมใหญ่เชียร์และลีดเดอร์ ณ สนามกีฬากลาง ค่ายบุรฉัตร ซ้อมใหญ่ดนตรีไทย นักเรียน “โครงการพิราบน้อย” เข้าค่ายที่โรงเรียน (ต่อ) เลิกช่วงเย็น
-วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2551 พิธีเปิดกีฬาภายในกองทัพบกครั้งที่ 58 (กองเชียร์ และดนตรีไทย)
-วันพุธที่ 12 มีนาคม 2551 พิธีปิดกีฬาภายในกองทัพบกครั้งที่ 58 (กองเชียร์)
-วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2551 09.00 น. ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกหนังสือประกอบการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2551
-วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2551 08.00-16.00 น.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร ใช้ห้องประชุม
-วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2551 08.00-16.00 น.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร ใช้ห้องประชุม
-วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2551 สรุปผลสอบและการซ่อมเสริมทุกระดับชั้น
-วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2551 09.00 น. ฟังผลสอบทุกระดับชั้น 10.00-12.00 น. พิธีมอบประกาศนียบัตรแก่นักเรียนที่จบการศึกษาชั้น ม. 3 และปัจฉิมนิเทศ วันสุดท้ายของการเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีการศึกษา 2551 ของ หน.งานและหน.กลุ่มสาระต่างๆ
-วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2551 09.00 น.-16.00 น. ประชุมนำเสนองานวิจัยของ หน.กลุ่มสาระ และครูรายบุคคล คนละ (10 นาที)
-วันอังคารและพุธที่ 25-26 มีนาคม 2551 ครูเข้ารับการอบรมการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาและการสร้างสื่อบทเรียนออนไลน์
-วันพฤหัสบดีและศุกร์ที่ 27-28 มีนาคม 2551 ประชุมจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีการศึกษา 2551 และแถลงนโยบายในปีการศึกษา 2551 วันสุดท้ายของการส่งรูปเล่มวิจัยในชั้นเรียน
-หยุดพักผ่อน (29 มีนาคม 2551-30 เม.ย.2551)
-วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป จัดทำสัญญาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ตกแต่งโรงเรียน ตกแต่งห้องเรียน เตรียมการจัดการเรียนการสอน ประชุมหารือแนวนโยบายในปีการศึกษา 2551 ตรวจ Port Folio ครูรายบุคคล ปรับห้องเรียน ฯลฯ
-วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2551 เปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1/2551 สอบปรับพื้นฐานชั้น ม.1, ป.4, ป.1
-วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2551 ทำบุญโรงเรียน
-วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2551 ประชุมผู้ปกครอง

สรุป
-นักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ป.3 ปิดเทอมวันที่ 1 มีนาคม 2551 เปิดเทอม 12 พฤษภาคม 2551
-นักเรียนชั้น ป.4 – ม.2 ปิดเทอมวันที่ 13 มีนาคม 2551 เปิดเทอม 12 พฤษภาคม 2551
-การรับสมัครนักเรียนใหม่รับตลอดปิดเทอม


ยอดนักเรียนที่มาสมัคร ณ วันที่ 26 ก.พ.2551
อนุบาล 1 จำนวน 24 คน
อนุบาล 2 จำนวน 5 คน
อนุบาล 3 จำนวน 3 คน
ป.1 จำนวน 39 คน
ป.2 จำนวน 2 คน
ป.3 จำนวน 1 คน
ม.1(เก่า) จำนวน 46 คน
ม.1(ใหม่) จำนวน 23 คน
รวม 143 คน

เรื่องหารือ
-เวลาเรียนไม่พอ มีสิทธิสอบหรือไม่
-วิธีการซ่อมเสริมที่เหมาะสม
-ผู้ปกครองที่ค้างชำระค่าธรรมเนียมและค่ารถรับ-ส่ง ฯลฯ จะทำอย่างไร
-การจัดงานปัจฉิมนิเทศ ควรจัดหรือไม่ ถ้าจัดจัดอย่างไร
-การจัดทำทำเนียบรุ่น และการนับรุ่น ทำกันมาอย่างไร การเชื่อมต่อความสัมพันธ์ ทำอย่างไร
-การมอบตัวเด็กนักเรียน ควรมีหรือไม่
-โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์ (ในปีการศึกษาหน้า) น่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับเด็กที่มีปัญหา
-มีผู้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษา เช่น ผบ.พัน.ช.คมศ. ผอ.ศูนย์ท่องเที่ยว กช. ฯลฯ ควรพิจารณาคุณสมบัติอย่างไร
-เรื่องอื่นๆ

เรื่องสั่งการ
ครูธเนตร
-ประสานหาช่างรับเหมามาปรับปรุงห้องน้ำใหม่ (ส้วมให้เป็นแบบนั่งราบ สำหรับเด็ก) เฉพาะอาคาร 1 และรีบเสนอประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อขออนุมัติ ส่วนห้องน้ำอื่นๆ ก็ดูปรับปรุงให้เหมาะสม
-ประมาณราคาปรับปรุงห้องเรียน เช่น ประตู หน้าต่าง กลอน ตะขอสับ ลูกบิดฯลฯ
-เสนอแนะเรื่องโต๊ะและเก้าอี้สำหรับเรียนหนังสือ
-ร่วมกับครูนิคม ประมาณการ “รีสอร์ตแห่งการเรียนรู้” เพื่อสร้างบรรยากาศของโรงเรียน โต๊ะและเก้าอี้ที่พังและชำรุด ให้พิจารณานำมาใช้ประโยชน์ในการตกแต่ง
-ครูศิริวรรณฯ เสนอฟอร์มสำหรับทหารประจำโรงเรียน ขอให้แลดูดี (เอาเฉพาะเสื้อก็ได้ ส่วนกางเกงใช้กางเกงทหารรองเท้าผ้าใบ)

การชี้แจงจากผู้อำนวยการ เมื่อ 5 ก.พ.2551

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

เรื่องสำคัญจากที่ประชุมกองพลทหารช่าง/ค่ายบุรฉัตร (เมื่อ 4 ก.พ.2551)

เรื่องทั่วไป
-การเรียน กศน. ของชุมชน ให้พิจารณาใช้สถานที่ของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา
-วันที่ 12-13 ก.พ.2551 รพ.ค่ายภาณุรังษี บริการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าในค่ายบุรฉัตร
-วันที่ 25-26 ก.พ.2551 รพ.ค่ายภาณุรังษี มีการอบรมอาหารสะอาดปลอดภัย โรงเรียนเราต้องส่งผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมในวันที่ 26 ก.พ.2551
-วันที่ 25-29 ก.พ.2551 จะมีการพ่นหมอกควันกำจัดยุง ในค่ายบุรฉัตร
-ข้าราชการที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จะถูกลงโทษมากกว่าพลเรือน 3 เท่า
-การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค.2551 จ.ราชบุรี เลือกได้ 1 คน (มีผู้สมัคร 4 คน) ให้ทุกหน่วยรวมทั้งโรงเรียน ทบอ.บูรณวิทยา ช่วยรณรงค์ให้ประชานในค่ายบุรฉัตร ออกไปใช้สิทธิด้วย (อย่างน้อยร้อยละของผู้ใช้สิทธิต้องไม่ต่ำกว่า การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2550 ที่ผ่านมา)
-กรมแพทย์ทหารจะมีโครงการอบรม “หมออ่วมช่วยชีวิต” ให้ทุกหน่วยช่วยส่งกำลังพลเข้ารับการอบรมด้วย ร่วมทั้งครูโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา
-การบำเพ็ญพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ให้แต่ละหน่วยริเริ่มได้เองเลยตามวาระที่เหมาะสม
-กองทัพบก ได้จัดเผยแพร่รายการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของกองทัพบก ทางช่อง 5 เป็นเวลา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ใครต้องการเผยแพร่กิจกรรมติดต่อได้

จก.กช.
-ขอบคุณทุกหน่วยที่ช่วยจัดงานวันเด็กประจำปีนี้ได้ดีมาก

ผบ.พล.ช.
- ให้นโยบายเรื่องกำลังพลเสื่อมให้พิจารณาออกได้ทันที เพราะยังมีคนอยากเป็นทหารอีกมาก
-การแข่งขันกีฬาภายในกองทัพบกครั้งที่ 58 ระหว่างวันที่ 7-12 มี.ค.2551 ขอให้ทุกคนทุกหน่วยในค่ายบุรฉัตร ร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดี

เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

การรับรองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ สมศ.
-โรงเรียนเราได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การศึกษาปฐมวัย (ที่ไม่ได้มาตรฐาน)
-มาตรฐานที่ 9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(1.75 จาก 4)
-มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (2.35 จาก 4)

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ที่ไม่ได้มาตรฐาน)
-มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ (1.80 จาก 4)
-มาตรฐานที่ 9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(1.82 จาก 4)
-มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีหลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (2.35 จาก 4)

พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550
-ยกเลิก พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525
-เปลี่ยน ครูใหญ่ เป็น ผู้อำนวยการ เปลี่ยน ผช.ครูใหญ่ เป็น รองผู้อำนวยการ
-เปลี่ยน กรรมการอำนวยการ เป็น กรรมการบริหาร

ผล Pretest ครั้งที่ 1
- ขอให้พิจารณาใช้ผลคะแนนให้เกิดประโยชน์
-แก้ไขความบกพร่องในระบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น

กำหนดการสอบ Pretest ครั้งที่ 2 และสอบจริง
-วันที่ 8 ก.พ.2551 Pretest 2 (NT) ป.3 และ ม.3

-วันที่ 15 ก.พ.2551 Pretest 2 (Local) ป.2 ป.5 และ ม.2
-วันที่ 27 ก.พ.2551 Pretest 2 (O-net ) ป.6
-วันที่ 12 ก.พ.2551 สอบ NT (สพฐ) ป.3 สอบ 2 วิชา (ไทย และคณิตศาสตร์) ม.3 สอบ 5 วิชา (ไทย คณิต สังคม วิทย์ อังกฤษ)
-วันที่ 19 ก.พ.2551 สอบ Local (ระดับท้องถิ่น) (สพท.) ป.2 สอบ (ไทย คณิต วิทย์) ป.5 สอบ 4 วิชา (ไทย คณิต วิทย์ อังกฤษ) ม.2 สอบ 5 วิชา (ไทย คณิต วิทย์ สังคม อังกฤษ)
-วันที่ 4 มี.ค.2551 สอบ O-net ป.6 สอบ 3 วิชา (ไทย คณิต วิทย์ อังกฤษ)

กำหนดการประเมินผลประจำภาคเรียนที่ 2/2550 และปิดภาคเรียน
-ระดับอนุบาล สอบประเมินผล วันที่ 27-28 ก.พ.2551 (29 ก.พ.2551 ซ้อม 1 มี.ค.2551 บัณฑิตน้อย)
ปิดภาคเรียน 3 มี.ค.2551 เปิดภาคเรียนที่ 1/2551 วันที่ 12 พ.ค.2551
- ระดับประถมศึกษาและมัธยม สอบประเมินผล วันที่ 28-29 ก.พ.2551, ป.1-ป.3 , ม.3 ปิดภาคเรียน 3 มี.ค.2551 เปิดภาคเรียนที่ 1/2551 วันที่ 12 พ.ค.2551 ป.4-ม.2 ปิดภาคเรียน 13 มี.ค.2551 เปิดภาคเรียนที่ 1/2551 วันที่ 12 พ.ค.2551
-กำหนดการรับนักเรียนใหม่ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 31 มี.ค.2551
- รับผิดชอบโดยคณะกรรมการรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2551

การดำเนินการที่ผ่านมา
-ทีมงานแนะแนวออกแนะแนวโรงเรียนรอบค่าย
-จัดทำหนังสือถึงหน่วยทหาร วัด ชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และ อปท.
-ออก Spot โฆษณาทางสถานีวิทยุชุมชนต่างๆ

กำหนดการตรวจข้อสอบและฟังผลสอบ
-ตรวจข้อสอบ ระหว่าง 3-19 มี.ค.2551
-ฟังผลสอบทุกระดับชั้น วันที่ 20 มี.ค.2551

การเตรียมงานต่างๆ

การแสดงเชียร์พิธีเปิดและปิดกีฬาภายในกองทัพบก ครั้งที่ 58 (7-12 มี.ค.2550)
-คณะกรรมการการฝึกซ้อมและจัดเชียร์กีฬากองทัพบก
-ทีมเชียร์ลีดเดอร์ 9 คน ทีมสนับสนุน 17 คน ทีม Stand จำนวน 200 คน (ป.4-ม.2)
-ฝึกซ้อมโดย คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยใน กทม.
-ซ้อมย่อย (ให้คณะกรรมการกำหนด โดยพยายามให้กระทบต่อการสอบต่างๆ ให้น้อยที่สุด)
-ซ้อมใหญ่ 3-6 มี.ค.2551 และ 10-11 มี.ค.2551
-พิธีเปิด 7 มี.ค.2551 และพิธีปิด 12 มี.ค.2551

การเข้าค่ายลูกเสือสามัญที่ค่ายหลวงบ้านไร่ (20-22 ก.พ.2551)
-ครูบุญสม อะละมาลา รับผิดชอบวางแผน
-ออกคำสั่ง และกำหนดการเข้าค่าย
-หนังสือถึงผู้ปกครอง และการเก็บเงิน

การเข้าค่ายลูกเสือสำรองที่โรงเรียน (20, 22 ก.พ.2551)
-ครูผดุงศักดิ์ ภัตติชาติ รับผิดชอบวางแผน
-ออกคำสั่ง และกำหนดการเข้าค่าย
-หนังสือถึงผู้ปกครอง และการเก็บเงิน

การชุมนุมลูกเสือสันติภาพ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ชลบุรี (20-26 เม.ย.2551)
-ครูบุญสม อะละมาลา ผู้กำกับ
-ลูกเสือเนตรนารี จำนวน 9 คน

การสั่งการ
-ฝ่ายวิชาการ ยกร่างคำสั่งคณะกรรมการคัดเลือกหนังสือประกอบการเรียนการสอนปีการศึกษา 2550 โดยเร็ว เพื่อพิจารณาร่วมกันประมาณกลางเดือน มี.ค.2551
-ฝ่ายทะเบียนและวัดผล ยกร่างคำสั่งคณะกรรมการคัดเลือกข้อสอบปลายภาค จัดทำแนวการออกข้อสอบร่วมกับฝ่ายวิชาการ เช่น อัตราส่วน ระหว่างอัตนัยกับปรนัย เป็นต้น โดยเร็วเพื่อให้ครูประจำวิชาได้ออกข้อสอบ
-ฝ่ายวิชาการและครูรัชดาฯ จัดทำรูปเล่ม หลักสูตรสถานศึกษาให้สวยงาม ส่งก่อนเปิดเทอม
-ครูประจำวิชาส่งข้อสอบประเมินผลปลายภาค พร้อมเฉลย ภายใน 11 ก.พ.2550
-ครูส่งผลการวิจัยพร้อมรูปเล่ม ภายใน 31 มี.ค.2551
-หัวหน้ากลุ่มสาระและหัวหน้างานต่างๆ ส่งโครงการเพื่อขอรับงบประมาณในปีการศึกษา 2551 ภายใน 20 มี.ค.2551 เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำรายจ่ายในปีการศึกษา 2551

ครูศิริวรรณ แจ้งมุข
-พิจารณายกร่างสัญญาจ้างระหว่างโรงเรียนและครูเป็นรายบุคคล (แบบปีต่อปี)
-พิจารณายกร่างระเบียบการลาต่างๆ เพื่อใช้ในปีการศึกษาหน้า
-พิจารณาเลือกประธานกลุ่มครูกันเอง ภายใน 29 ก.พ.2551 (เป็นผู้แทนในคณะกรรมการบริหารและดูแลกิจการกลุ่มครู)

KM บูรณวิทยา
-ชื่อในการใช้ : เว้น

-รหัสผ่าน : เว้น
-URL: http://kmbuarmy.blogspot.com/

วิธีการสร้าง KM
-คณะครูที่ไปอบรมสัมมนา ทุกครั้ง ต้องนำความรู้ที่ได้รับมา POST ใส่เข้าไป
-ครูคนใดมีประสบการณ์หรือวิธีแก้ไขปัญหาจากประสบการณ์ตรง POST ใส่เข้าไป
-ครูคนใดที่ได้รับทราบความรู้ดีดีมา ให้ POST ใส่ เพื่อแบ่งปันกัน ฯลฯ

Social network (www.hi5.com)
-ชื่อในการใช้ : เว้น

-รหัสผ่าน : เว้น
-URL: http://buarmy.hi5.com/
วัตถุประสงค์หลัก
-หาศิษย์เก่าโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา
-เชื่อมโยงความสัมพันธ์ศิษย์ปัจจุบันที่จบจากโรงเรียนไป
-สอนนักเรียนให้เข้าใจและรู้จักใช้ เปลี่ยนแปลงเป้าหมายจากเกม เป็นสังคม
-ตรวจสอบพฤติกรรมนักเรียนได้
-ครูทุกคนสามารถเป็นสมาชิก Hi5 ได้ด้วยตัวเอง โดยใช้อีเมล์ที่มีอยู่แล้ว

ขอให้ปรับปรุง Blog ของกลุ่มสาระหรือกลุ่มงานของตนเองด้วย


อย่าลืมผ้าป่าโรงเรียน

เก็บมาฝาก

จงพยายามทำเป็นไม่รู้บ้าง ในสิ่งที่ไม่ควรรู้
และจงพยายามที่จะรู้ ในสิ่งที่ควรรู้
แต่อย่าไม่รู้ว่า ตัวเองไม่รู้อะไร


น้ำในแม่น้ำที่เราเห็นในวันนี้ ไม่ใช่น้ำที่เราเห็นเมื่อวานนี้
และพรุ่งนี้ก็จะไม่ใช่น้ำที่เราเห็นในวันนี้
“การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น จงรีบพัฒนาตัวเองเสีย ก่อนที่จะสายไป”

การชี้แจงจากครูใหญ่ เมื่อ 18 ธ.ค.2550

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

เรื่องสำคัญจากที่ประชุมกองพลทหารช่าง/ค่ายบุรฉัตร (เมื่อ 13 ธ.ค.2550)
-จ.ส.อ.วิชัย ทรัพย์ประเสริฐ ผู้ช่วยครูใหญ่ชี้แจงแทน

เรื่องสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ปีการศึกษา 2551 (เมื่อ 18 ธ.ค.2550 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ สพท.รบ.1)
-คณะกรรมการรับนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2551 (ครูใหญ่เป็นกรรมการด้วย)
-มาตรการ ป้องกัน ป้องปราม ที่จะไม่ให้เกิดเด็กฝาก และการรับเงินเพื่อแลกเปลี่ยนกับการรับนักเรียน
-ห้ามโรงเรียน สมาคมศิษย์เก่า คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมครูและผู้ปกครอง มูลนิธิ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานรับนักเรียนเข้าเรียน โดยแลกเปลี่ยนกับการรับเงินในช่วงระยะเวลาการรับนักเรียน
-กำกับ ติดตาม การรับนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สพท.รบ.1 ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 เรื่อง แนวปฏิบัติการรับนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1
-ปฏิทินการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2551 ตามที่แนบ
-จำนวนในแต่ละห้องเรียน
-ชั้นก่อนประถมศึกษา ห้องละ 30 คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกินให้รับได้ไม่เกิน 35 คน
-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ห้องละ 40 คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกินให้รับได้ไม่เกิน 45 คน
-ชั้นมัธยมศึกษา ห้องละ 40 คน หากมีความจำเป็นต้องรับเกินให้รับได้ไม่เกิน 45 คน

การสั่งการของครูใหญ่
-ขอขอบคุณ ครูวิชัย ครูรัชนี ครูสันชัย และครูสุกินนา ที่พานักเรียนไปแข่งวิ่ง 31 ขา สพฐ-ฮอนดา ที่ จ.พระนครศรีอยุธยาอยุธยา เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2550
-ขอขอบคุณ ครูและนักเรียน ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรงานบุรณฉัตรมินิมาราธอน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2550
-การวิจัยกลุ่มสาระและวิจัยในชั้นเรียนของครู ขอให้กระทำอย่างต่อเนื่อง และเข้ามาปรึกษาได้ตลอดเวลา
-การประชุมกลุ่มสาระและกลุ่มงานต่างๆ หลายกลุ่มไม่เคยประชุมเลย
-โครงการ Learning Room ขอให้คุณครูพยายามสร้างแรงจูงใจให้เด็กด้วย ยังมีหลายห้องที่ดูเหมือนจะไม่คืบหน้า เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย
- หนังสือเวียนอ่านสำหรับครู ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และอ่านเสร็จแล้วนำกลับมาไว้ที่หน้าห้องครูใหญ่ด้วย
-การเพิ่มพลังการเรียนรู้ ขณะนี้ดำเนินการจัดรูปแบบการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอให้เน้นย้ำในเรื่องการเล่นเกม (จะทำให้ชำรุดเร็วขึ้น พยายามให้ทำงานก่อนแล้วค่อยเล่นเกม แต่ในห้องสมุดห้ามเล่น ให้ใช้สำหรับค้นคว้าข้อมูลเท่านั้น ) คุณครูพยายามสอนให้เด็กนักเรียนทุกคนช่วยกันดูแลรักษาเครื่อง เพราะเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม โดยเฉพาะครูที่เกี่ยวข้องโดยตรงต้องดูแลรักษาขั้นพื้นฐานเป็น เช่น การ Disk Cleanup การ Disk Defragmenter การกำจัดโปรแกรมที่ไม่ใช้ออกจาก Desktop การกำจัดและป้องกันไวรัส การเปิดและปิดเครื่องที่ไม่ถูกวิธี ฯลฯ
- ครูที่ไปอบรม สัมมนาต่างๆ ต้องรายงานผลการอบรม สัมมนา ด้วยบทความเชิงข่าว พร้อมภาพ ทุกครั้ง โดยส่งเป็นไฟล์อิเลคโทรนิคส์ (หากมีหลายคนให้พิจารณากันเองในกลุ่มว่าใครจะเป็นผู้ทำ) และนำบทความและภาพถ่ายลง Blog กลุ่มสาระขอตนเอง (Blog อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้หรือการแสดงผล ก็ให้รียกครูใหญ่ไปดูได้โดยตรง)
-การเก็บภาพถ่ายเหตุการณ์ต่างๆ ขอให้ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และขอให้ครูอื่นๆ ที่มีกล้องช่วยถ่ายเก็บไว้ด้วย แล้วนำมาลงไว้ในห้องสารสนเทศโรงเรียนเพื่อการเผยแพร่ต่อไป
-Blog ของกลุ่มสาระต่างๆ ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ (บางกลุ่มสาระฯบทความสุดท้าย ตั้งแต่เดือน ก.ย.50)
-แผนการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละวิชา ได้ดูแล้ว แต่หากพูดถึงด้านคุณภาพแล้ว ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ค่อยน่าพอใจ(สำหรับครูบางคน) ขอให้ปรับปรุงด้วย ฝ่ายวิชาการควรกำกับดูแลให้ดี ผมจะไปสุ่มนิเทศการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ครูแต่ละวิชาเขียนมา
-การจัดกิจกรรม Home room ของครูประจำชั้น ขอให้กระทำทุกสัปดาห์ (หากไม่มีความจำเป็นอย่าให้ขาด) เพราะเป็นส่วนหนึ่งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-งานทวงถามเงินต่างๆ ที่นักเรียนค้างชำระ ขอให้คุณครูประจำชั้นซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตรง ช่วยทวงถามให้ด้วย และให้ฝ่ายบัญชีรายงานความคืบหน้าให้ครูประจำชั้นและครูใหญ่ ฝ่ายงบประมาณให้ทราบทุกสัปดาห์
-การสื่อสารที่ผิดพลาด นักเรียนชั้น ป.4-6 หยุดเรียน เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธ.ค.2550 หลังจากอบรมค่ายยุวพุทธฯ ให้ หน.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมฯ หาสาเหตุแล้วยังไม่ได้รับการรายงาน
-อย่าให้นักเรียนไปรับประทานอาหารข้างนอก จะกระทบกระเทือนการขายของของแม่ค้าภายในโรงเรียน (เพราะว่าเขาต้องเสียค่าที่ให้เรา) ขอให้ครูระวีวรรณฯ ฝ่ายบริหารทั่วไป แจ้งเหตุผลให้นักเรียนทราบด้วย (แต่ก็ขอให้ฟังเหตุผลของเด็กด้วย)
-การลาป่วย การลากิจ อย่าพยายามลาให้ครบสิทธิ์ การลากิจ ควรต้องมอบหมายหน้าที่ของตัวเองให้เรียบร้อย ต้องแจ้งฝ่ายวิชาการทราบด้วย (เรื่องนี้จะดำเนินการร่างระเบียบต่อไป)
-การจัดทำเว็บไซต์โรงเรียน
-ขอให้ครูทุกคนตระหนักว่าคือหน้าต่างที่จะประชาสัมพันธ์และสื่อสารสู่นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
-ฝ่ายธุรการฯ จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการจัดทำเว็บไซต์ และให้ทำการศึกษาหนังสือต่างที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่มือการออกแบบเว็บไซต์ให้ยอดนิยม คู่มือออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงาม การลอกเลียนแบบเว็บไซต์ต่างๆ

การเตรียมงานต่อไป
-วันพฤหัสบดีที่ 20 ธ.ค.2551 การรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้เสียงเลือกตั้ง ใช้ กลุ่มลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และกลุ่มลูกเสือสามัญ (เว้นลูกเสือสำรอง) ใช้การเดินรณรงค์ ตามเส้นทางภายในค่ายบุรฉัตร เน้น “การเคาะประตูบ้าน” ให้ผู้กำกับกลุ่มแต่ละกลุ่มไปวางแผนในรายละเอียดร่วมกัน เริ่มเวลา 13.30 น. ครูใหญ่เป็นผู้ปล่อยขบวนรณรงค์ บริเวณถนนหน้าอาคาร 2
-วันอาทิตย์ที่ 23 ธ.ค.2550 ขอให้คุณครูที่ทำหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งต่างๆ ให้ทำหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริต เป็นกลาง และต้องเป็นหลักในการแก้ไขปัญหา หรือให้คำแนะนำแก่ประชาชน (รวมถึงการแต่งกายด้วย) เพราะเป็นภาพลักษณ์ของโรงเรียน


วันอังคารที่ 25 ธ.ค.2550 การจัดกิจกรรม “เทศกาลวันคริสต์มาสและวันปีใหม่”
1. กิจกรรมการออกร้านเล่นเกมเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 1/2 2/1 2/2 3/1 และ 3/2 บริเวณซุ้มของโรงเรียนในสนามหน้าอาคาร 1 (ออกร้าน 6 ห้องๆ ละ 400 บาท)
2. กิจกรรมการออกร้านเล่นเกมเชิงสร้างสรรค์ของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง บริเวณซุ้มของโรงเรียนในสนามหน้าอาคาร 1 (300 บาท)
3. กิจกรรมการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครองและครู ในระดับชั้นอนุบาล 1-3 ณ โรงอาหารของโรงเรียน (500 บาท)
4. กิจกรรมการจัดการแข่งขัน Rally ความรู้วันวันคริสต์มาส และวันขึ้นปีใหม่ (300 บาท) โดยแบ่งเป็น
4.1. Rally ระดับชั้นอนุบาล 1-3 (โดยผู้ปกครองร่วมกับนักเรียน)
4.2. Rally ระดับช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3)
4.3. Rally ระดับช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6)
4.4. Rally ระดับช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)
5.การจัดการละเล่นต่างๆ บนเวทีกลางข้างโรงพลศึกษา (3,000 บาท)
5.1. การประกวดร้องเพลงเกี่ยวกับ
วันคริสต์มาสและวันปีใหม่
5.2. การประกวดการแต่งกายยอดเยี่ยมสอดคล้องกับบรรยากาศ
5.3. การสอยดาวของขวัญ โดยผู้ที่มีสิทธิสอยดาวต้องตอบคำถามถูกทั้งหมดจากการแข่งขัน Rally
5.4. การร้องเพลงของวงบูรณแบน
5.5. การเล่นเกมบนเวทีตามเหมาะสม
6.กิจกรรม” อัจฉริยะข้ามคืน” ณ บริเวณห้องสมุด โดยการถอดรหัสคำพูดเป็นตัวอักษร (500 บาท)
7.กิจกรรมการสร้างบรรยากาศวันคริสต์มาสและวันปีใหม่ (5,000 บาท)
7.1. งานตกแต่งอาคารสถานที่
7.2. งานแต่งตัวซานตราคอส เดินแจกของรางวัล
7.3. งานสร้างบรรยากาศด้วยเสียงเพลงวันคริสมาสต์และวันปีใหม่
7.4. งานตกแต่งห้องเรียนของนักเรียนแต่ละห้อง
8.กิจกรรมการแต่งกายให้สอดคล้องกับบรรยากาศวันคริสมาสต์และวันขึ้นปีใหม่ (-)

-วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2550 ฝ่ายแนะแนวพานักเรียนชั้น ม.3 ไปดูงาน ณ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี ขอให้ครูประจำวิชาไปด้วย
-วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2550 07.10 น.พิธีทำบุญตักบาตรในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2551 ณ สนามกีฬากลาง ค่ายบุรฉัตร ครูรุ่งชัยฯ สนับสนุนการแสดงเครื่องสายและดนตรีไทย ครูประจำชั้นทุกคนประกาศเชิญชวนผู้ปกครองเข้าร่วมพิธี การแต่งกาย ชุดเสื้อแขนยาว
-วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2550 บจก.อักษรเจริญทัศน์ บรรยายเรื่องสื่อการสอน
-วันอังคารที่ 8 มกราคม 2550 ฝ่ายแนะแนวพานักเรียนชั้น ม.3 ไปดูงาน ณ โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ทั้งวัน ขอให้ครูประจำวิชาไปด้วย
-วันที่ 11 มกราคม 2550 จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ (รายละเอียดกิจกรรมจะแจ้งให้ทราบภายหลัง)
- เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2551 กำหนดให้เป็นเดือนแห่งวิชาการ โดยวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


-วันที่ 12 ก.พ.2551 สอบ NT (สพฐ)
-ป.3 สอบ 2 วิชา (ไทย และคณิตศาสตร์)
-ม.3 สอบ 5 วิชา (ไทย คณิต สังคม วิทย์ อังกฤษ)

-วันที่ 19 ก.พ.2551 สอบ Local(ระดับท้องถิ่น) (สพท.)
-ป.2 ป.5 ม.2 อย่างน้อย 3 วิชา (ไทย คณิต อังกฤษ)
-วันที่ 4 มี.ค.2551 สอบ O-net
-ป.6 สอบ 3 วิชา (ไทย คณิต วิทย์)

-กิจกรรม Tutor (อาจจะต้องมีการปรับปรุงตารางสอนเป็นบางชั้น)
-กำหนดให้มีการทดสอบภายในก่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง
-กิจกรรมการสร้างบรรยากาศ เดือนแห่งวิชาการ เช่น การเปิด Cd Tutor ในช่วงเช้า กลางวัน และเย็นตามเสียงทางสาย กิจกรรมสร้างบรรยากาศห้องเรียนเชิงวิชาการ ฯลฯ
-วันที่ 7-12 มีนาคม พ.ศ.2551 การจัดกองเชียร์ 200 คน พร้อม Staff สนับสนุนการแข่งขันกีฬาภายในกองทัพบกครั้งที่ 58 ขอให้ ครูวิชัยฯ ไปประชุมพิจารณาวางแผน และยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานให้ลงนามก่อนสิ้นปี 2550
-การวางแผนเรื่องการปิดเทอม การเปิดเทอม การรับสมัครนักเรียน และเดือนแห่งวิชาการ ขอให้ฝ่ายวิชาการส่งแผนกำหนดการปฏิบัติงานให้ทราบภายในวันที่ 21 ธ.ค.2550 นี้

การชี้แจงจากครูใหญ่ 6 ธ.ค.2550

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

การสั่งการของครูใหญ่
-ให้คุณครูทุกคนเขียนประเมิน
การจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2550 ในหัวข้อ ข้อบกพร่อง ข้อควรแก้ไข และข้อเสนอแนะ ส่งให้ครูใหญ่ภายในวันอังคารที่ 11 ธ.ค.2550
-ครูวิชัย ให้ฝ่ายธุรการร่างหนังสือขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือมหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพฯ
-การจัดทำ Portfolio ของโรงเรียนเรื่องการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2550 มอบหมายให้ครูระวีวรรณ และฝ่ายธุรการ
- “การจัดนิทรรศการปฎิทินเก่าในหลวง” ตั้งแต่วันนี้-31 ธ.ค.2550 ขอให้คุณครูช่วยรณรงค์และประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชน (ขอให้ครูฝ่ายอนุบาลและประถม ช่วยซ่อมแซมและดูแลให้ด้วยหากปลิว)
-โครงการ “ทำดีปีใหม่ ถวายในหลวง” โดยเขียนความดีที่ตั้งใจ ลงในใบเหลือง แล้วนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้หรือศาลาในสนามหน้าอาคาร 1 ได้ตั้งแต่วันนี้-31 ธ.ค.2550 คุณครูทุกคนควรทำก่อน และครูประจำชั้นช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ ทำ โดยขอรับใบเหลืองได้ที่ฝ่ายธุรการ
- โครงการวิจัย การพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนโดยนักเรียน (Learning Room) ขอให้คุณครูทุกคนให้ความร่วมมือด้วย เพราะเป็นงานวิจัยในระดับโรงเรียน
-การวิจัยในชั้นเรียนของครูทุกคน ขอให้เริ่มมาปรึกษาหารือต่อได้เลย อย่าทิ้งอย่าละเลย เพราะเป็นผลงานของครู
-การแบ่งมอบหน้าที่ เดิน-วิ่งบุรณฉัตรมินิมาราธอน ครั้งที่ 1 วันที่ 9 ธ.ค.2550
-เด็กเข้าร่วมเป็น Staff
-เด็กที่เป็นกองเชียร์บริเวณ Start และ Finish
-ครูและบุคลากรที่ต้องช่วย เช่น พิธีกร
-จัดเครื่องขยายเสียงสนับสนุน
-เตรียมสนามของโรงเรียนเป็นที่กางเต็นท์ ระบบไฟส่องสว่าง บรรยากาศต่างๆ ห้องอาบน้ำ ห้องส้วม ความสะอาด ป้ายบอกทาง สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ห้องสมุด ทีวี ฯลฯ จัดครูเป็นกองอำนวยการอำนวยความสะดวก
-การสื่อสารภายในโรงเรียนขอให้พยายามสื่อสารกันให้รวดเร็ว และชัดเจน
-อยากให้ทุกคนทำงานแบบมืออาชีพ
-ทำงานได้มากกว่าคนปกติ 2 เท่า
-ทำงานเร็วกว่าคนปกติ 2 เท่า
-แก้ปัญหาเร็วกว่าคนปกติ 2 เท่า
- อย่าอ้างความอยากหรือความขี้เกียจของตัวเอง มาทำให้การเรียนการสอนเสียไป
-การปรับปรุงด้านการเรียนการสอน และบรรยากาศการเรียนรู้
-ซ่อมและ UPGRADE ห้องคอมพิวเตอร์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน รวมแล้วขณะนี้ประมาณ 5x,xxx บาท (ยังไม่เสร็จ)
-ซ่อมและ UPGRADE คอมพิวเตอร์สำหรับห้องสมุด จำนวน 5 เครื่อง
-ห้องคอมพิวเตอร์เปิดบริการให้ใช้ในช่วงพักกลางวันด้วย โดยมีสมุดลงทะเบียนการใช้ให้เรียบร้อย
-ห้องสมุดเปิดบริการถึง 16.30 น.
-ติดตั้งโทรทัศน์บริเวณโรงอาหาร 2 เครื่อง งบประมาณ 6,940.- บาท
-ติดตั้งโทรศัพท์ภายในโรงเรียน งบประมาณ 43,050.- บาท
-การปรับปรุงห้องปฏิบัติงานสำหรับครู
-ความสะอาดของโรงพลศึกษา ขอให้หัวหน้างานวางแผนด้วย สกปรกมากพัดลมกระจัดกระจาย ขยะเปลือกขนม เต็มไปหมด ห้องเก็บอุปกรณ์พละศึกษาทั้งหมด ขอให้จัดระบบการจัดเก็บ เบิก-จ่ายให้ดี
-ด้านโรงอาหารขอให้ช่วยรักษาความสะอาดด้วย โต๊ะปิงปองหากไว้แล้วเกิดประโยชน์ก็ดี แต่ขอให้มีการเบิก-จ่าย เน็ทและอุปกรณ์ให้เป็นระบบ (รวมทั้งอุปกรณ์กีฬาต่างๆ ด้วย)
-การแข่งขันกีฬากองทัพบกครั้งที่ 58 โรงเรียนฯ จัดกองเชียร์ 200 คน งบประมาณ 55,000 บาท งานนี้ต้องทำงานกันทีม โดยให้ครูกาญจนาฯ วางแผน แล้วมาหารือกับครูใหญ่ ส่วนดนตรีไทย ในวันเปิด มอบหมายให้ครูรุ่งชัยฯ(หารือเรื่องปิดภาคเรียน)
- การแข่งขัน วิ่ง 31 ขา สพฐ.-ฮอนด้า โรงเรียนเป็นตัวแทนจังหวัดราชบุรี ไปแข่งขันที่สนามกีฬากลาง จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 8 ธ.ค.2550 งบประมาณ 15,000 บาท (การเบิกจ่ายและจัดทำหลักฐาน ให้ครูนันทพรและครูสุธนธ์ ประสานกับเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1) และขอให้โชคดีนำชัยชนะกลับมา
-โรงเรียนเรากำลังแข่งขันฟุตบอล 7 คน คริสมาสตร์ดรุณา ก็ขอให้ทำให้ดีที่สุด แพ้ไม่เป็นไร...กลับมาพัฒาสู้ใหม่ในปีหน้า

สิ่งที่ครูใหญ่อยากให้พวกเราช่วยกัน
-การจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ขอให้จัดแผนการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นให้ชัดเจน
-การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ขอให้ครูผู้สอนได้พัฒนาตนเองให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการรู้จักใช้ห้องวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ขอให้จัดแผนการจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจนเช่นกัน และให้ใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-งานฝ่ายวิชาการขอให้เข้มงวดต่อครูผู้สอนทุกๆ คนด้วย อย่าปล่อยปละละเลย
-ให้ทุกคนเพิ่มความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งงานด้านการสอน และงานนอกเหนือการสอน
- อยากให้ครูตระหนักในเรื่องของการพัฒนาตนเองด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเด็กของเราทุกคน
- อย่าพยายามทำให้องค์กรแตกแยกหรือขาดความสามัคคีกัน รวมกันเราอยู่ แตกแยกเราตาย อย่าพยายามเอาเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมาก่อให้เกิดความขัดแย้งกัน การขัดแย้งกันเกิดขึ้นได้ แต่ขอให้มุ่งที่การปฏิบัติงานเป็นสำคัญ

การชี้แจงจากครูใหญ่ 15 พ.ย.2550

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

เรื่องสำคัญจากที่ประชุมกองพลทหารช่าง/ค่ายบุรฉัตร (เมื่อ 13 พ.ย.2550)

นโยบาย ผบ.ทบ. เมื่อ 19 ต.ค.2550 ที่ควรทราบ
-กองทัพบกเป็นกลไกลหลัก เป็นหลักประกันความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชน
-เป็นทหารของชาติ เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ทหารของนักการเมือง
-เป็นทหารต้องมีเกียรติและศักดิ์ศรี ไม่ให้อำนาจใฝ่ต่ำมาครอบงำ
-ระบบอุปถัมภ์จะพยายามขจัดให้เหลือน้อยที่สุด
-ปัญหายาเสพติดในหน่วยทหารต้องขจัดให้หมดไป
-ให้ความสำคัญในการถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นอันดับแรก “ไม่มีสิทธิผิดพลาด”
-ให้ความสำคัญโครงการพระราชดำริเป็นอันดับแรก
-ปฏิบัติงานภายใต้แนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “แนวทางสันติ”

ด้านการเมืองในปัจจุบัน
-ไม่ให้มีการแบ่งฝ่ายอำนาจเก่าอำนาจใหม่
-กองทัพบกเป็นกลางทางการเมือง
- ทหารต้องปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด เพราะผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้วว่าการปฏิบัติดังกล่าวอยู่บนฐานของความมั่นคงและผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก
-อย่าให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง อย่าให้มีหัวคะแนน อย่าทำตนให้มีเงื่อนไข

เรื่องชี้แจงจากที่ประชุม พล.ช. ที่ควรทราบ
-วันที่ 21 พ.ย.2550 เวลาประมาณ 10.30 น. ผบ.พล.ช.นัดประชุมชุมชน เรื่องการเลือกตั้ง ณ สโมสรนายทหารชั้นประทวน
-วันที่ 22 พ.ย.2550 วันคล้ายวันสถาปนา พล.ช. (งดเชิญนักการเมือง)
-มีการลักขโมยมิเตอร์ภายในค่ายบุรฉัตร ตอนนี้จับผู้ขโมยได้แล้ว
-มีการเสพยาบ้าที่แฟลต และมีผู้ปกครองของเด็กนักเรียนเราร่วมอยู่ด้วย (ขอให้หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นำเด็กเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือ ครูประจำชั้นให้หมั่นเอาใจใส่เด็กด้วย)
-ต่อไปหากมีพฤติกรรมหรือหลักฐานที่เชื่อถือได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ผู้กระทำผิดออกนอกค่ายบุรฉัตรทันที ค่อยทำการสอบสวนในภายหลัง หรืออาจไม่สอบสวนเลย (เพราะไม่ใช่ศาล)
-กองพลพัฒนาที่ 1 จะเปิดศูนย์อภิบาลเด็กเล็ก (3 เดือน ถึง 2 ขวบครึ่ง) จะเปิดประมาณเดือน เม.ย.2551 รับเด็กได้ประมาณ 30 คน
-ชุมชน ช.พัน.111 ได้เปิดศูนย์ออกกำลังกาย ขอเชิญชวนไปใช้ได้
-ชุมชน ช.พัน.602 ได้เปิดศูนย์ขายเครื่องใช้สำนักงาน ซ่อมและให้บริการคอมพิวเตอร์ ชุบเครื่องหมาย เชิญชวนให้ไปใช้บริการ (แฟลต 128 ตรงข้ามเครื่องมือเบา)
-กำหนดการจัดงานสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง 11-17 เม.ย.2550 มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองด้วย
-กรมการทหารข่าวรับสมัครกองหนุนและบุคลพลเรือนเข้ารับราชการ จำนวน 21 อัตรา
-ประชุมใหญ่สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ วันที่ 22 พ.ย.2550 ณ โรงพลศึกษา 1
-ผบ.พล.ช. เน้น นโยบายด้านการเมืองตามที่กองทัพบกสั่ง ในค่ายบุรฉัตร ห้ามมีการซื้อสิทธิขายเสียง ห้ามมีหัวคะแนน และช่วงนี้ห้ามผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองเข้ามาในค่ายฯ จนกว่าการเลือกตั้งเสร็จสิ้น

เรื่องชี้แจง จากการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพท.รบ.1 เมื่อ 15 พ.ย.2550 ณ อาคารสมาคมผู้ปกครองและครู รร.อนุบาลราชบุรี

แผนการดำเนินงานของ สพท.รบ.1 ประจำปี 2551 ที่สำคัญและควรทราบ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์

กลยุทธ์ที่ 1 คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-โครงการคุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
-โครงการค่ายคุณธรรมเยาวชนไทย ทำดีถวายในหลวง ปีการศึกษา 2551
-โครงการส่งเสริมการประกวดดนตรี และดนตรีนาฎศิลป์
-โครงการอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ขั้นผู้ช่วย (A.L.T.C)
-โครงการจัดงานชุมนุมลูกเสือฯ สพท.รบ.1
-โครงการพัฒนาความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-โครงการนิเทศฯ ต่างๆ
-โครงการแผนที่ความดี “ราชบุรีรักษ์ถิ่น”

กลยุทธ์ที่ 2 ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชากรวัยเรียนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
-โครงการขับเคลื่อนการเพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
-โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังและระบบให้ความช่วยเหลือแก่เด็กพิการและด้อยโอกาส
-โครงการพัฒนาระบบข้อมูลนักเรียนรายบุคคล

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
-โครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2550
-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
-โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนวิชาคณิตศาสตร์
-โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย
-โครงการพัฒนาการอ่านคล่องเขียนคล่องของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 และ 2
-โครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
-โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยเน้นการอ่าน การเขียน วิเคราะห์
-โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปีงบประมาณ 2551
-โครงการส่งเสริมพัฒนาขับเคลื่อนกระบวนการคิดสู่ห้องเรียน
-โครงการพัฒนานวัตกรรม สพท.รบ.1
-โครงการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล
-โครงการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน สพท.รบ.1

กลยุทธ์ที่ 4 การกระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งให้ สพท.และสถานศึกษา
-โครงการพัฒนาความพร้อมของ สพท. ในการประสาน ส่งเสริมสันบสนุนสถานศึกษาในการบริหารและจัดการศึกษาเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ (SBM)
-โครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการบริหาร และจัดการศึกษาของสถานศึกษาประเภทที่ 2 สู่ประเภทที่ 1 เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
-โครงการพัฒนาสถานศึกษา และเครือข่ายสถานศึกษา ประเภทที่ 1 เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
-โครงการอบรมเครือข่ายประชาสัมพันธ์และการใช้ E-news

กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
-โครงการสภานักเรียนไทยหัวใจสมานฉันท์ ยึดมั่นธรรมมาภิบาล
-โครงการพัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้าง เครือข่ายขององค์คณะบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา
-โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาเอกชน

การสนับสนุนการเลือก ส.ส. ประจำปี 2550
-จัดบอร์ดสถานที่ติดป้าย ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบสัดส่วน จำนวน 2 บอร์ด
-จัดสถานที่ติดตั้งคัทเอ้าท์ของผู้สมัคร ขนาดไม่เกินไม้อัด
-วางตัวเป็นกลาง
-ห้ามผู้สมัครมาพูดหน้าแถว หน้าเสาธง หรือหาเสียงใดๆ ถ้าหากมีต้องจัดให้ทุกพรรคเท่าเทียมกัน
-หากมีผู้สมัครเข้ามาหาเสียงให้กระทำได้เฉพาะเดินแนะนำตัวและแจกโบว์ชัว ตามที่กฎหมายกำหนด ห้ามทิ้งโบว์ชัวเกลื่อนกลาด ผู้รับต้องเก็บไปด้วย
-การเป็นพิธีกร ในงานต่างๆ ให้กล่าวเฉพาะชื่อผู้สมัคร ห้ามกล่าวเสริมอย่างอื่น เช่น .........ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ราชบุรี เขต 2 พรรค......

เรื่องที่ ผอ.สพท.รบ.1 เป็นห่วง คือ ให้ระมัดระวังเรื่องโครงการอาหารกลางวัน

เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ผลงานของโรงเรียนในช่วงปิดเทอม (8-31 พ.ย.2550)
-สถาปนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-สถาปนาระบบงานแนะแนว
-ประชุมครูเพื่อจัดทำวิสัยทัศน์โรงเรียนใหม่
-ปรับงบประมาณภาคเรียนที่ 2/2550 ตามนโยบายผู้จัดการ
-ประชุมปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และอนุมัติทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2/2550 เพื่อนำผลมาประเมินเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
-ปรับเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
ผลงานที่สำคัญ
-5-30 พ.ย.50 มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2550 (28 พ.ย.50 พิธีเปิด/30 พ.ย. 50 พิธีปิด)
-7 พ.ย.2550 ร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย” ม.เกษตรศาสตร์
-8 พ.ย.2550 ตรวจกองลูกเสือขั้นที่ 5
-17 พ.ย.2550 การสอบโครงการตอบปัญหาธรรมทางก้าวหน้า
-29 พ.ย.2550 การสอบโครงการธรรมศึกษาสนามหลวง

การสั่งการของครูใหญ่

การจัดการแข่งขัน “มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพประจำปีการศึกษา 2550”

-ขอให้คุณครูทุกคนพยายามสอนเด็กให้คิดเป็น ทำเป็น (ครูควรเป็นเพียงที่ปรึกษา ผู้อำนวยความสะดวก ผู้ชี้แนะ และผู้ที่คอยกระตุ้นให้เด็กทำ บอกงาน บอกวิธีการ บอกเครื่องมือที่ใช้ให้ชัดเจน) สอนการแก้ปัญหา การจัดการกับปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งตัวนักกีฬา ผู้ฝึกสอน หัวหน้าทีม ผู้จัดการแข่งขัน และผู้ชม นี่คือพวกเรากำลังสอนเรื่องการบริหารจัดการให้เด็กไปด้วยในตัว
-ข้อมูลการแข่งขันกีฬาแต่ละวัน ผลการแข่งขัน จำนวนเหรียญรางวัล ควรพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ
-เน้นระเบียบ ขั้นตอน กฎเกณฑ์ ของการแข่งขันกีฬาประเภทนั้นด้วย (อย่าปล่อยให้สนุก จนลืมสาระ)
-คำขวัญกีฬา (ขอตั้งนานแล้วยังไม่ได้)
-การเชิญแขกรับเชิญมาเป็นประธานชมการแข่งขัน ต้องให้ความสำคัญกับผู้ที่เชิญมา คอยดูแลตามความเหมาะสม
-ขบวนพาเหรดให้ใช้แนวความคิด “เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 ปี” (เพราะใกล้วันที่ 5 ธันวาคม) (ฝากแม่สีช่วยคิดร่วมกันเด็กด้วย)
-การแสดงในพิธีเปิดคงใช้แนวความคิดเดียวกัน (พยายามให้ผู้ชมมีส่วนร่วมก็จะดี) (อนุบาล 1 ชุด,ประถมและมัธยม 1 ชุด)
-กีฬาอนุบาลในวันที่ 29 พ.ย.2550 พยายามให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
-พิธีเปิดและพิธีปิด ตามกำหนดการที่แจก
-ถ้วยรางวัลกีฬาประเภทต่างๆ อาทิ ถ้วยรวมกีฬาแต่ละประเภท 17 ใบ ถ้วยรวมกีฬา จำนวน 1 ใบ ถ้วยรางวัลนักกีฬามารยาทยอดเยี่ยม ช่วงชั้นที่ 1 2 และ 3 จำนวน 3 ใบ ถ้วยรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ช่วงชั้นที่ 1 2 และ 3 จำนวน 3 ใบ ถ้วยรางวัลทักษะกีฬา ช่วงชั้นที่ 1 2 และ 3 จำนวน 3 ใบ ถ้วยรางวัลขบวนพาเหรดประเภทสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ จำนวนอย่างละ 1 ใบ ถ้วยรางวัลดรัมเมเยอร์สวยงาม จำนวน 4 ใบ ฯลฯ

-รื้อฟื้นวงดุริยางค์ของนักเรียน ใช้นำหมู่ธง (ให้ครูวิชัยควบคุมวง ครูรุ่งชัยเป็นผู้ฝึกซ้อม)
-การวิจัยกลุ่มสาระและวิจัยในชั้นเรียนของครู ขอให้กระทำอย่างต่อเนื่อง และเข้ามาปรึกษาได้ตลอดเวลา
-โครงการ Room office เพื่อสอนให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการทำงานเป็นทีม ขอให้คุณครูพยายามสร้างแรงจูงใจให้เด็ก (การตัดสินผ่านเกณฑ์-ธงฟ้า สูงสุดธงผู้นำ-พร้อมเงินรางวัล คะแนนสะสมสูงสุดตลอดภาคการศึกษา)
-ในการเรียนรู้นั้น นักเรียนต้องตื่นตัว และเป็นผู้ประดิษฐ์หรือผลิตบางสิ่งบางอย่างด้วยความตื่นตัว
-นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะคิดและแก้ปัญหา
-นักเรียนทุกคนจะต้องเตรียมตนเองสำหรับชีวิตในสังคมจึงต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
-หนังสือเวียนอ่านสำหรับครู ขอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (วิธีการอ่านหนังสือเร็ว ดูได้ที่เว็บไซต์โรงเรียน www.buarmy.com)
-เพิ่มพลังการเรียนรู้ด้วยการจัดที่นั่งในชั้นเรียน - การจัดห้องคอมพิวเตอร์ใหม่ (20 เครื่อง) คอมพิวเตอร์อนุบาลและห้องสารสนเทศ (14 เครื่อง) และการจัดห้องสมุดออนไลน์ (8 เครื่อง) งบประมาณที่ต้องปรับปรุง 33,520 บาท และ โครงการ Room Office สามารถพิจารณาประยุกต์ใช้การเพิ่มพลังการเรียนรู้ด้วยการจัดที่นั่งในชั้นเรียนได้เช่นกัน
-แจ้งการแต่งตั้งทีมงานฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน และคณะกรรมการพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นทีมที่สำคัญ ขอให้คุณครูทุกคนช่วยปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมด้วย
-ขอให้ครูเข้าใจและหันมาใช้บริการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (อย่ายึดติดระบบเดิมๆ)
-ขอให้ครูช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้วย สโลแกนโรงเรียน “อบอุ่น ปลอดภัย ในค่ายบุรฉัตร” และเว็บไซต์ของโรงเรียน www.buarmy.com
-ครูที่ไปอบรม สัมมนาต่างๆ ต้องรายงานผลการอบรม สัมมนา ด้วยบทความเชิงข่าว พร้อมภาพ ทุกครั้ง โดยส่งเป็นไฟล์อิเลคโทรนิคส์ (หากมีหลายคนให้พิจารณากันเองในกลุ่มว่าใครจะเป็นผู้ทำ) และนำบทความและภาพถ่ายลง Blog กลุ่มสาระขอตนเอง
- การเก็บภาพถ่ายเหตุการณ์ต่างๆ ขอให้ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และขอให้ครูอื่นๆ ที่มีกล้องช่วยถ่ายเก็บไว้ด้วย แล้วนำมาลงไว้ในห้องสารสนเทศโรงเรียนเพื่อการเผยแพร่ต่อไป
-เรื่องการรับโทรศัพท์ และการบันทึกโทรศัพท์

งานต่างๆ ที่ไม่คืบหน้า
-Blog ของกลุ่มสาระต่างๆ ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ (บางกลุ่มสาระฯบทความสุดท้าย ตั้งแต่เดือน ก.ย.50)
-งานวิจัยในชั้นเรียนและกลุ่มสาระ ยังไม่มีความคืบหน้า
-การปรับปรุงห้องสมุด ขอให้มีการประชุมกลุ่มงานห้องสมุดอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม
-แผนการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละวิชา ยังไม่ได้รับเลย ขอให้ฝ่ายวิชาการเร่งรัดด้วย
-การจัดกิจกรรม Home room ของครูประจำชั้น
-งานวงดนตรีบูรณแบนด์
-Portfolio บางคนยังไม่ได้ส่ง

งานทวงถามเงินต่างๆ ที่ค้างชำระ (สรุปเมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 1/2550 โดยประมาณ 15 พ.ย.2550)
-ค่ารถบัส 32,350 บาท
-ค่าคอมพิวเตอร์ 31,100 บาท
-ค่าอาหาร 9,900 บาท
-ค่าอุปกรณ์ 31,140 บาท
หลังจากที่ได้แจ้งให้ผู้ปกครองมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาต่างๆ ของภาคเรียนที่ 2/2550 ระหว่าง วันที่ 1-15 พ.ย.2550 สรุปผลได้ดังนี้
-อนุบาล · ค่าธรรมเนียมการเรียน จำนวน 122 คน เก็บได้ 48 คน เหลือ 74 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 39.34 · ค่าอาหารอนุบาล จำนวน 50 คน เก็บได้ 19 คน เหลือ 31 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 38
· ค่ารถบัส จำนวน 49 คน เก็บได้ 24 คน เหลือ 25 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 48.97
-ประถม มัธยม · ค่ารถบัส 312 คน เก็บได้ 91 คน เหลือ 221 คน เก็บได้คิดเป็นร้อยละ 29.16

การทวงถามเงินค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระของให้คุณครูประจำชั้นเป็นผู้รับผิดชอบตรง ฝ่ายบัญชีรายงานความคืบหน้าให้ทราบทุกสัปดาห์

การเตรียมงานต่อไป
-17 พ.ย.2550 การสอบโครงการตอบปัญหาธรรมทางก้าวหน้า
-การจัดกิจกรรมวันลอยกระทง (23 พ.ย.2550)
-พิธีเปิดและปิดมหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ (28 และ 30 พ.ย.2550) ณ สนามกีฬากลาง ค่ายบุรฉัตร
-การส่งเด็กนักเรียนสอบโครงการธรรมศึกษาสนามหลวง (ม.1-ม.3) ในวันที่ 29 พ.ย.2550
-การสนับสนุนการแสดงดนตรีวงบูรณแบนด์ แก่สโมสรชั้นประทวน วันที่ 4 ธันวาคม 2550
-การจัดงานวันที่ 5 ธันวามหาราช (วันพ่อ)
-การสนับสนุนงานบุรณฉัตรมินิมาราธอน ครั้งที่ 1 วันที่ 9 ธันวาคม 2550
-การจัดการรณรงค์เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550

เก็บมาฝาก
แนะนำวิธีอ่านหนังสือเร็ว (พ.อ.สุชาต จันทรวงศ์ 10 พ.ย.2550)
เนื่องจากในปัจจุบัน มีข้อมูลข่าวสารอยู่มากมาย ทั้งในโลกแห่งความจริง และในโลกออนไลน์ ผู้เขียนเพียรพยายามที่จะหาวิธีอ่านข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ ให้เร็วขึ้นและมีเงื่อนไขว่าต้องเข้าใจด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ หนังสือ เอกสาร วารสาร และแม้แต่ อี-บุ๊ค ในอินเตอร์เน็ต มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ได้คิดค้นเทคนิคและวิธีการอ่านหนังสือให้เร็ว ไว้จำนวนมากมายหลายวิธีการ
เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2550 ผู้เขียนได้ไปร่วมประชุมทางวิชาการ เรื่อง ICT เพื่อการศึกษาไทย ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ผู้เขียนได้ซื้อหนังสือที่สำนักพิมพ์บิสคิตมาวางจำหน่ายอยู่หน้าห้องประชุม ชื่อเรื่องว่า “Speed Reading in a week” (อ่านไวใน 7 วัน) ซึ่งเขียนโดย Tina Konstant แปลโดย โอฬาร สุนทรภูษิต จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2550 นี้เอง หลังจากผู้เขียนได้อ่านแล้ว คิดว่าน่าจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ทราบกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องอ่านหนังสือจำนวนมาก ได้บ้างไม่มากก็น้อย
Konstant เธอได้แนะนำวิธีการอ่านหนังสือให้ไว ว่ามีเทคนิคการอ่านหลักๆ อยู่ 5 ขั้นตอน กล่าวคือ
1.Prepare (การเตรียมตัวอ่าน)
2.Preview (การอ่านแบบผ่าน)
3.Passive Reading (การอ่านแบบข้าม)
4.Active Reading (การอ่านแบบสรุป)
5.Selective Reading (การเลือกอ่าน)

Prepare (การเตรียมตัวอ่าน) ขั้นตอนแรกนี้ ผู้อ่านต้องพยายามถามคำถามที่สำคัญ 3 ข้อ คือ ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้? อะไรบ้างที่ผู้อ่านรู้อยู่แล้วในหนังสือเล่มนี้? และอะไรบ้างที่ผู้อ่านต้องการจะรู้จากหนังสือเล่มนี้? เมื่อได้คำตอบแล้ว ผู้อ่านต้องตั้งปณิธานให้แนวแน่ ไม่อยากนั้นอาจจะหลงทาง ต่อจากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้เลย

Preview (การอ่านแบบผ่าน) ขั้นตอนที่ 2 นี้ก็เพื่อทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของหนังสือที่อ่าน ซึ่งอาจใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้นเอง โดยหลักการอ่านแบบผ่านที่สำคัญ คือ
-สิ่งที่ต้องอ่าน : ปกหน้า ปกหลัง ปกด้านใน สารบัญ ดัชนี และบรรณานุกรม
-สังเกต : โครงสร้างของหนังสือ เช่น ชื่อบท หัวข้อหลัก หัวข้อรอง รูปภาพ กราฟ การ์ตูน และรูปถ่าย
-กำจัด : เนื้อหาในหนังสือที่ผู้อ่านมั่นใจ ว่าไม่ต้องอ่าน
-เน้น : เนื้อในหนังสือที่ผู้อ่านต้องการ
-ถามย้ำ : ถามตัวเองอีกครั้งว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้อ่านต้องการจากหนังสือเล่มนี้

Passive Reading (การอ่านแบบข้าม) การอ่านแบบนี้ Konstant บอกว่าหนังสือหนา 300 หน้า จะใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาที เท่านั้นเอง โดยต้องพยายามสแกนแต่ละหน้าอย่างรวดเร็ว หาคำศัพท์ที่โดดเด่น สังเกตข้อความที่หนังสือ โดยเฉพาะข้อความที่เน้นตัวหนา ตัวเอียง พยายามทำความเข้าใจกับคำศัพท์ที่ใช้ในหนังสือ หากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคย

Active Reading (การอ่านแบบสรุป) หมายถึง การอ่านย่อหน้าแรกของแต่ละบท อ่านประโยคแรกของทุกๆ ย่อหน้า (และประโยคท้ายสุด ถ้าย่อหน้านั้นมีความยาวมาก) ขณะที่อ่านให้ใช้ปากกาเน้นข้อความ ขีดเส้นใต้ วงกลมใจความสำคัญ หรือจดสรุปความเข้าใจ หรือเขียนเป็นแผนที่ความคิด (Mind map) ก็ได้
Selective Reading (การเลือกอ่าน) อ่านเฉพาะในสิ่งที่ผู้อ่านต้องการอ่าน อ่านเพื่อหาคำตอบที่ผู้อ่านค้นหา และหัวข้อต่างๆ ที่ผู้อ่านสนใจ (ตามปณิธานที่ผู้อ่านตั้งเอาไว้)

เทคนิคการอ่าน 5 ขั้นตอน นี้ หากจะทำให้การอ่านเร็วเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีเทคนิคต่างๆ ที่ผู้อ่านต้องฝึกเพื่อประกอบเพิ่มเติมด้วย เช่น เทคนิคการอ่านเร็ว เทคนิคการจำสิ่งที่อ่าน เทคนิคการใช้สายตาเพิ่มประสิทธิผลในการอ่าน เทคนิคการกำจัดสิ่งรบกวนในการอ่าน เทคนิคการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ
Konstant ได้คิดเทคนิคประกอบดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทำได้โดยไม่ยากเย็น แต่เราคิดไม่ถึง เช่น การใช้เครื่องมือช่วยในการอ่าน การอ่านแบบกวาด (Skimming) การอ่านแบบค้นหา (Scanning) เป็นต้น
การอ่านแบบ Skimming กับการอ่านแบบ Scanning หลายคนอาจสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร อธิบายง่ายนิดเดียว อ่านแบบ Scanning คือ เมื่อเจอข้อมูลที่ต้องการก็เลิกอ่าน อ่านแบบ Skimming คือ เมื่อเจอข้อมูลแล้วจะยังไม่หยุดอ่าน จนกว่าผู้อ่านอยากจะหยุดอ่านเอง

ที่เขียนมานี้เป็นเพียงเรื่องราวบางส่วน ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้พวกเราได้ทราบและเข้าใจเทคนิคการอ่านเร็วในเบื้องต้น แต่หากท่านใดต้องการทราบในรายละเอียดเพื่อฝึกฝนตนเองก็คงต้องหาซื้อหนังสืออ่านเอา หรือถ้าไม่อยากซื้อหนังสือ ก็ลองอีเมล์ในสิ่งที่ท่านต้องการอยากทราบเพิ่มเติมมาได้ที่ผู้เขียน s463368@hotmail.com แล้วผู้เขียนจะพยายามค้นหาตอบจากหนังสือดังกล่าวดู และตอบให้ท่านทราบต่อไป

ข้อคิด
ธรรมชาติของต้นกล้วยเมื่อออกดอกผลแล้วก็จะตาย ผมไม่อยากให้ครูของผม เป็นครูแบบต้นกล้วย ( Banana Teacher) จงเป็นครูอย่างต้นโพธิ์ ซึ่งนับวัน ยิ่งจะแผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่ผู้คนเรื่อยไป ((พันเอกสุชาต จันทรวงศ์ 15 พ.ย.2550)

การชี้แจงจากครูใหญ่ 15 ต.ค.2550

ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษาก่อนเปิดเทอมภาคเรียนที่ 2/2550 ครั้งที่ 1 ของ รร.ทบอ.บูรณวิทยา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา

การจัดการเรียนการสอน
-อนุมติใช้หลักสูตรสถานศึกษา ของ รร.ทบอ.บูรณวิทยา ตามที่กลุ่มสาระเสนอ
-ยังไม่มีการปรับครูประจำกลุ่มสาระ คงปรับเพิ่มเฉพาะครูที่มาใหม่ (ครูสัญชัย และครูนิคม)
- ครูแต่ละวิชา ต้องส่งรายละเอียดหน่วยเรียนรู้ที่ใช้สอน ให้ครูใหญ่ก่อนทำการสอน อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อเก็บรวบรวมจัดทำเป็น “คู่มือครูแต่ละกลุ่มสาระ” และเพื่อปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาต่อไป
- ให้แต่ละกลุ่มสาระดำเนินการปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มสาระของตนเอง โดยเพิ่มเติม สารบัญ ภาพรวมของหลักสูตร (3-4 หน้า สำหรับให้ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องอ่าน) โครงสร้างชั่วโมงต่างๆ ในแต่ละช่วงชั้น ปรับปรุงวิสัยทัศน์ให้สั้น และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน หากสงสัยให้ปรึกษาครูใหญ่ได้โดยตรง
-ครูกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศและครูกลุ่มสาระภาษาไทย ต้องจัดให้มีการเรียนการสอนในห้องภาษาตามเหมาะสมกับหลักสูตรในแต่ละช่วงชั้น และครูทุกคนในกลุ่มสาระฯ ดังกล่าว ต้องใช้เครื่องมือในห้องเป็น
-ฝ่ายวิชาการปรับห้องเรียนใหม่ ป.6,ม.1,ม.2 และ ม.3 โดยแยกนักเรียนที่เรียนเก่งไว้ห้องหนึ่ง และนักเรียนที่มีปัญหาไว้ห้องสอง และจัดครูอาสา (ที่มีฝีมือ) ปรับเปลี่ยนเป็นที่ปรึกษาประจำชั้น
-ครูประจำชั้น ต้องพบนักเรียนในชั้นอย่างน้อยในตอนเช้าก่อนเริ่มเรียนวันละ 10 นาที
-ฝ่ายบริหารทั่วไป (ครูระวีวรรณ) จัดทำแผนการปฏิบัติประจำปี ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2550 จนถึง สิ้นสุดภาคเรียนที่ 2/2551 โดยประสานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ระบบงานแนะแนวการศึกษา
-จัดประชุม วางแผนการแนะแนวในทีมงาน
-จัดเตรียมวางแผนส่งเสริม ช่วยเหลือและพัฒนานักเรียนในด้านต่างๆ
-จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ชั่วโมงแนะแนว ตลอดภาคเรียนที่ 2/2550
-ประสานอย่างใกล้ชิดกับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษาประจำชั้น และฝ่ายวิชาการ
เพื่อการส่งเสริม ช่วยเหลือ และการแก้ปัญหาเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน

ระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-ครูประจำชั้น ดำเนินการคัดกรองนักเรียนในชั้นของตัวเอง และส่งข้อมูลให้ฝ่ายดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ปรึกษาเครื่องมือในการคัดกรองได้ที่ฝ่ายดูแลช่วยเหลือนักเรียน)
-ครูประจำชั้น จัดกิจกรรมในชั่วโมง Home room อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง (รูปแบบการจัดกิจกรรม ปรึกษาได้ที่ฝ่ายแนะแนว และฝ่ายดูแลช่วยเหลือนักเรียน)
-จัดเตรียมวางแผนช่วยเหลือและพัฒนานักเรียนตามกลุ่มปัญหา โดยนำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ (โดยในชั้นต้นพิจารณาคัดเลือกนักเรียนที่มีปัญหามาก และค่อยๆ ขยายผลต่อไป) โดยประชุมและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับงานแนะแนวการศึกษา ครูที่ปรึกษาประจำชั้น และฝ่ายวิชาการ
-จัดเตรียมครูและนักเรียนอาสาสมัคร เข้ารับการอบรมหลักสูตรการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในโรงเรียน

งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
-ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือทั้ง 3 กลุ่ม (สามัญรุ่นใหญ่ สามัญ ลูกเสือสำรอง) ส่งแผนการจัดการเรียนรู้ ตลอด
ภาคเรียนที่ 2/2550 รวมทั้งวางแผนการเข้าค่ายด้วย
-ฝ่ายกิจกรรมนักเรียน เสนอแผนการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2/2550

งานตารางสอน
-ป.1- ป.6 ปรับชั่วโมงการแนะแนวให้ตรงกันในแต่ละชั้น
-ป.1- ป.6 ปรับชั่วโมงกิจกรรมการเรียนรู้ตามความต้องการ (ชมรม+กายบริหาร) ให้อยู่ 2 ชั่วโมงบ่ายของวันพุธ ทั้งโรงเรียน
-ม.1-ม.3 ปรับเปลี่ยนชั่วโมง ชมรม ในบ่ายวันพุธ เป็น ”ชั่วโมงศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง”
-ทุกระดับชั้น ปรับชั่วโมงพลศึกษาให้ตรงกันในแต่ละชั้น
-ทุกระดับชั้น จัดให้มีชั่วโมง Home Room ในแต่ละห้อง (หรือแต่ละสายชั้น) ในบ่ายวันศุกร์ ในชั่วโมงอบรมเป็นเวลา 30 นาที ต่อจากนั้นจึงสวดมนต์กลับบ้าน
-ใช้โปรแกรมจัดตารางสอนช่วยเหลือในการจัด

การจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ
-ประธานที่ปรึกษาฝ่ายจัดการแข่งขันทุกฝ่ายส่งงบประมาณ และแผนการใช้สนามและการยืมอุปกรณ์ ภายใน 15 ต.ค.2550
-ฝ่ายธุรการส่งหนังสือถึงผู้ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จก่อน 16 ต.ค.2550
-เตรียมดำเนินการจัดการแข่งขันตามโปรแกรมที่วางไว้

งานห้องสมุด
-ปรับปรุงและตกแต่งห้องสมุดใหม่ ให้แล้วเสร็จก่อนเปิดเทอม
-ติดตั้งโปรแกรมห้องสมุด
-มุมหนังสือแนะนำ หนังสือยอดนิยม
-แหล่งสืบค้นห้องสมุดออนไลน์
-จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (เสนองบประมาณ)
-จัดโต๊ะอ่านหนังสือใหม่
-เสนอความต้องการหนังสือ
-คัดเลือกหนังสือที่มีประโยชน์น้อยออกไปเก็บไว้ในคลัง

งานอาคารสถานที่
-ย้ายห้องวิชาการแทนห้องฝ่ายปกครอง
-ปรับเปลี่ยนห้องพุทธศาสนา เป็นห้องงานแนะแนวการศึกษา และงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
-ปรับปรุงตกแต่งห้องกลุ่มสาระศิลปะ
-ตกแต่งอาคารสายใยรัก ให้เป็นห้องพุทธศาสนา ห้องศิลปะ และห้องดนตรีไทย โดยให้สามารถพร้อมใช้งานด้านอื่นๆ ด้วย

เรื่องอื่นๆ
-ประชุมเพื่อปรับงบประมาณภาคเรียนที่ 2/2550 ในวันที่ 15 ต.ค.2550 เวลา 13.00 น.
-
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการรับการตรวจขั้นที่ 5 ในวันที่ 16 ต.ค.2550 เวลา 09.00 น.
-แถลงผลการจัดตารางสอนใหม่ ในวันที่ 16 ต.ค.2550 เวลา 13.00 น.
-ครูส่ง Portfolio วันที่ 29 ต.ค.2550 รายงานความคืบหน้าของวิจัยในชั้นเรียนด้วย
-การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทาง Blog การใช้ Blog เป็นสื่อการสอน และการเชื่อมโยงลิงค์


การชี้แจงจากครูใหญ่ เมื่อ 26 ก.ย.2550

เรื่องสำคัญจากที่ประชุมกองพลทหารช่าง/ค่ายบุรฉัตร (เมื่อ 24 ก.ย.2550)
-การใส่หมวกกันน๊อค ขอให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด
-ผู้บัญชาการกองพลไม่ให้ยอมความกรณีวัยรุ่นมาก่อเหตุในโรงเรียนของเรา ทั้งๆ ที่อยู่ในทัณฑ์บน
-สถานการณ์ยาบ้าภายในค่ายฯ มีทั้งนายสิบ และพลทหาร ที่นำมาจำหน่าย
-การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ในค่ายบุรฉัตร ห้ามเลี้ยงเป็นธุรกิจ ห้ามเลี้ยงในที่สาธารณะ เลี้ยงได้ในโครงการต่างๆ ของหน่วย แต่จำกัดจำนวน กองพันไม่เกิน 20 ตัว กองร้อยไม่เกิน 5 ตัว
-มีการขุดบ่อสำหรับทิ้งขยะใหม่ของค่ายบุรฉัตร บริเวณสนามฝึกจารุมณี
-หน่วยตรวจโรคมีบริการตรวจคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้า (ครั้งละ 300 บาท เบิกได้)
-ผบ.ทบ. มอบนโยบายแก้ปัญหาภาคใต้ คือ 3 เกาะติด (เกาะติดประชาชน เกาะติดฝ่ายตรงข้าม และเกาะติดพื้นที่)
-ผบ.ทบ. แจ้งว่า ขบวนการล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ยังมีอยู่ ขอให้ช่วยกันปกป้องชาติและราชบัลลังก์
-กำหนดพระราชทานเพลิงศพ พลเอกวิษณุ อุดมสรยุทธ วันที่ 29 กันยายน 2550 ณ วัดโสมมนัสวิหาร
-ยกเลิกการส่งกำลังพลทหารช่างไปประเทศซูดาน
-ขอให้ช่วยกันเตรียมจัดการแข่งขันกีฬากองทัพบกครั้งที่ 58 ระหว่าง 7-12 มีนาคม 2551
-ผบ.พล.ช. เข้ารับการศึกษาหลักสูตร วปอ. ตั้งแต่ 9 ต.ค. 2550-12 ก.ย. 2551

เรื่องแจ้งเพื่อทราบ


ผลงานของโรงเรียนที่ผ่านมา
-4 ก.ย.2550 ส่งประธานสภานักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน เข้าร่วมโครงการผู้ว่าพาลูกเที่ยว จำนวน 2 คน
-7-9 ก.ย.2550 อบรมครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 (2 คน)
-4 ก.ย.2550 ส่งประธานสภานักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน เข้าร่วมโครงการผู้ว่าพาลูกเที่ยว จำนวน 2 คน
-22-23 ก.ย.2550 สนับสนุนห้องสอบและครูคุมสอบ แก่ กศน.ราชบุรี
-25-26 ก.ย.2550 ส่งประธานสภานักเรียนและคณะกรรมการสภานักเรียน เข้าร่วมอบรมโครงการปฏิบัติการนักเรียนแกนนำการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา จัดโดย สพท.ราชบุรีเขต 1 จำนวน 2 คน
ผลงานด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านมา
-5-7 ก.ย.50 อบรมเชิงปฏิบัติการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเบื้องต้น (3 คน)
-7 ก.ย.2550 อบรมโครงการดูแลเด็กให้เหมาะสมตามวัย
-7-9 ก.ย.2550 อบรมครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 (2 คน)
-14-16 ก.ย.2550 ส่งครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นพื้นฐาน (B.T.C) ณ ค่ายหลวงบ้านไร่ จำนวน 15 คน


แผนการดำเนินการในเดือนต่อไป
-27-28 ก.ย.2550 สอบปฐมวัย ปิดเทอม 1-31 ต.ค.2550 ปฐมวัยปิดเทอม
-1 ต.ค.2550 เข้าร่วมสัมมนาโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรม 80 สถานศึกษา ที่ตึกองค์การสหประชาชาติ
-1-5 ต.ค.2550 คัดเลือกตัวแทนวิ่ง 31 ขา ตัวแทนจังหวัดราชบุรี
-4-5 ต.ค.2550 สอบประถม-มัธยม 8-31 ต.ค.2550 ปฐมวัยปิดเทอม
-ต้น ต.ค.2550 สมาพันธ์นักวิ่งเพื่อสุขภาพไทย ร่วมกับสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย มอบรถเข็นให้ ด.ญ.ญาดา ใบมะลิ ชั้น ป.3/1
-4 ต.ค.2550 เวลา 09.30 น. ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง/ผู้จัดการโรงเรียน มอบนโยบายให้ครู
-5-30 พ.ย.50 มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2550 (28 พ.ย.50 พิธีเปิด/30 พ.ย. 50 พิธีปิด)
-7 พ.ย.2550 ร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย” ม.เกษตรศาสตร์
-8 พ.ย.2550 ตรวจกองลูกเสือขั้นที่ 5
-9 พ.ย.2550 หลักสูตร การนำเศรษฐกิจพอเพียงโครงการ “เงินทองของมีค่า” ณ อิมแพคเมืองทองธานี

การสั่งการเพื่อการเดินทางร่วมกัน
-การจัดการแข่งขัน “มหกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพประจำปีการศึกษา 2550” ระหว่างวันที่ 5-30 พ.ย.2550 (28 พ.ย.50 พิธีเปิด/30 พ.ย. 50 พิธีปิด) วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนจัดการแข่งขันกีฬาเป็น เล่นกีฬาเป็น และดูกีฬาเป็น พวกเรามีหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และเป็นกรรมการตัดสิน
- ชนิดกีฬาที่แข่งขัน
- กีฬามาตรฐาน จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล ว่ายน้ำ แฮนด์บอล แชร์บอล เปตอง กรีฑา เซปัคตระก้อ ฟุตซอลท์ และเทเบิลเทนนิส
-กีฬาภูมิปัญญาไทย จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ หมากเก็บ ตุ๊ง ดาวกระจาย หมากฮอส ชักคะเย่อ และวิ่งเปรี้ยว
-กีฬาอนุบาลคิดเพิ่มเติมได้เอง โดยพิจารณาให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแข่งขันด้วย
-การวิจัยกลุ่มสาระและวิจัยในชั้นเรียน ให้เริ่มดำเนินการได้เลย และหลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลสาเหตุของปัญหาต่างๆ ได้แล้ว ให้มาปรึกษาครูใหญ่เพื่อหาวิธีการหรือนวัตกรรมในการแก้ปัญหา และนำไปดำเนินการในระหว่างเดือน พ.ย.-ธ.ค.51 (ภาคเรียนที่ 2/2550) ส่งผลการวิจัยภายใน 31 ม.ค.2551
-เรื่องการออกข้อสอบ การจัดพิมพ์ข้อสอบ การเก็บรักษาข้อสอบ การแจกจ่ายข้อสอบ การคุมสอบ การคืนข้อสอบ การตรวจข้อสอบ ขอให้ปฏิบัติใหม่ตามระบบที่ครูใหญ่ได้กำหนดไว้โดยเคร่งครัด
-การจัดการแข่งขันกีฬาภายในกองทัพบกครั้งที่ 58 ระหว่าง 7-12 มีนาคม 2551 โรงเรียนของเราได้รับมอบ
-การแสดงในพิธีเปิด ดนตรีไทยก่อนเวลา และการแสดงกลางคืนในงานเลี้ยงรับรอง 1 ชุด
-การแสดงในพิธีปิด การแสดงกลางคืนในงานเลี้ยงรับรอง 1 ชุด
-การแสดงเชียร์บนอัฒจันทร์ ในพิธีเปิด-ปิด จำนวน 200 คน
- ให้ช่วยกันระมัดระวัง และสอดส่องดูแล เนื่องจากสถานการณ์ยาบ้าเริ่มระบาดโดยเฉพาะรอบๆ โรงเรียนของเรา และยังมีเรื่องของหายภายในโรงเรียนเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เมื่อไม่นานมานี้
-ขอให้ใช้ Blog ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานในกลุ่มสาระของตนเอง รวมทั้งใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน

ขอความร่วมมือ
-ในช่วงปิดภาคเรียนเทอมนี้ มีงานที่พวกเราต้องดำเนินการร่วมกันจำนวนมาก อาจจะไม่ได้หยุดกัน งานที่วางแผนดำเนินการไว้ในช่วงปิดเทอมนี้ ได้แก่
-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกับครู (Best Practice) ตามที่ได้ไปอบรมมา
-การจัดทำร่าง วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียน
-การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน
-การปรับเปลี่ยนตารางสอน และครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระ
-การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้วิชาลูกเสือ-เนตรนารี
-การปรับปรุงงบประมาณรายรับ-รายจ่ายใหม่ ประจำภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2550
-การปรับปรุงห้องสมุด (เน้นเรื่องห้องสมุดไซเบอร์)
-การตกแต่งโรงเรียนในมุมมองใหม่ (เน้นภาษาต่างประเทศ)
-ผู้ที่มักจะส่งงานช้า หรือทำงานช้า และไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา ขอให้ปรับปรุงด้วย จะพลอยให้คนอื่นๆ ช้าตามไป
-การแต่งกายของครู และการยืนตรงเคารพธงชาติตอนเช้า

ความคาดหวัง

เก็บมาฝาก
-กรอบความคิด 6 ประการที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกัน (Stephen R. Covey : 1996)
ชนะ/ชนะ ชนะ/แพ้ แพ้/ชนะ แพ้/แพ้ ชนะ ไม่มีการตกลงใดๆ
......แล้วตัวเราละ...ที่ผ่านมา เรามักจะมีความคิดแบบไหน......????????

ข้อคิด
คนสังคมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ จะถูกแบ่งชั้นกันด้วยความรู้และความชำนาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (พันเอกสุชาต จันทรวงศ์ 26 ก.ย.2550)
vvvvvvvvvvv