ในการประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา ณ ห้องประชุมบูรณวิทยา
เรื่องชี้แจงจากการประชุมของกองพลทหารช่างที่สำคัญ
o เพิ่มความเข้มในการรักษาความปลอดภัยในหน่วยทหาร
o กศน. มีการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ให้กับพลทหารด้วย เรียนที่ศูนย์สารสนเทศ ค่ายบุรฉัตร บริเวณสนามกีฬากลาง
o ผลการเลือกตั้ง นายก อบต.เกาะพลับพลา
o วันที่ 8 ก.ย.2551 จะดับไฟทั้งค่ายบุรฉัตร ในช่วงบ่าย
o กรมการทหารช่าง จัดทอดกฐินประจำปี ณ วัดท้ายเมือง วันที่ 17 ต.ค.2551
o จัดให้มีการวิ่งธงสัญลักษณ์ “116 วัน จากวันแม่สู่วันพ่อ สานสามัคคี” โดยจะจัดในค่ายบุรฉัตร ประมาณวันที่ 8 ก.ย.2551
o อย่าให้การเมืองเข้ามายุ่งในกองทัพบกเป็นอันขาด
o มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรา คือ เปลี่ยนผู้รับใบอนุญาต เป็น พลโททวนชัย พันธ์เพิ่มศิริ และเปลี่ยนผู้จัดการ เป็น พล.ต.นิพนธ์ ปานมงคล ให้ครูระวีวรรณฯ เตรียมดำเนินการได้เลย
o กำหนดรับ-ส่ง หน้าที่ เจ้ากรมการทหารช่าง วันที่ 30 ก.ย.2551
o วันที่ 19 ก.ย.2551 จะมีพิธีเทิดเกียรตินายทหารช่างที่เกษียณ หน้า บก.กช.
o ผบ.พล.ช. ฝากเรื่องให้สานต่อ 4 เรื่อง
· ปัญหายาเสพติด
· เขตสุขาภิบาล
· การศึกษาของลูกหลานของเรา
· ความเข้มแข็งของชุมชน
เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมเมื่อ 20 ส.ค.2551
o เรื่องการแข่งขันทักษะวิชาการ ให้ฝ่ายวิชาการเร่งรัดยกร่างคำสั่งของโรงเรียน โดยเร็ว
o เรื่องทุนการศึกษา ฝ่ายวิชาการให้ส่งรายละเอียดการพิจารณาทุนเรียนดีให้โดยเร็ว จะกำหนดการประชุมคณะกรรมการในสัปดาห์หน้า
o การรณรงค์ให้เด็กนักเรียนทำแฟ้มสะสมงานของตัวเอง ครบ 100% ภายในสิ้นปีการศึกษา 2551 ขอให้ดำเนินการอย่างจริงจัง ส่วนเรื่องการจัดหาแฟ้มสะสมงานให้นักเรียนให้ฝ่ายวิชาการพิจารณาร่วมกับหัวหน้างานงบประมาณ
o การจัดการเรียนการสอน
-ป้ายบอกสถานภาพการจัดการเรียนการสอนหน้าห้องเรียน ฝึกให้นักเรียนเป็นผู้ติดป้ายเองทุกคาบ ห้องเรียนรู้ต่างๆ ต้องติดด้วย เช่น ห้องคหกรรม ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรี และห้องใดที่ไปเรียนนอกห้องเรียน ต้องติดป้ายด้วยว่าไปเรียนที่ใด
-ความก้าวหน้าของการนิเทศครูทุกระดับชั้น ประจำภาคเรียนที่ รายงานผลให้ทราบภายใน 15 ก.ย.2551
o ศูนย์วิทยุโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์ (ศวท.บูรณวิทยา) ยังมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ ที่เป็นเจ้าภาพบางกลุ่มยังไม่ดำเนินการ
เรื่องชี้แจงและสั่งการ
1. การจัดตลาดนัดบูรณะฯ ในวันพรุ่งนี้ จะมีนักเรียนโรงเรียนบ้านเขากรวด และโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์โยธินวิทยามาร่วมแสดงด้วย ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องวางแผนให้ดีเรื่องเวลา เรื่องการต้อนรับ เรื่องเกียรติบัตร และเรื่องการเลี้ยงข้าวต้มแก่เด็ก ผู้ปกครอง และครู
2. การแข่งขันกีฬาฟุตบอล 7 คน ขอให้จัดให้เรียบร้อยและอยากให้เป็นมาตรฐาน อุปกรณ์ครบตามกฎกติกา มอบหมายให้ครูวิชัย ทรัพย์ประเสริฐ กำกับดูแลเป็นส่วนรวม และขอให้เขียนโครงการเสนอไปยัง พล.ช. (ผ่าน ฝกพ.พล.ช.) ชื่อโครงการ “การแข่งขันฟุตบอล 7 คนอายุไม่เกิน 15 ปี ต้านยาเสพติด บูรณะคัพ” (ประสานรายละเอียดกับครูนันทพร วิเศษรจนา)
3. เรื่องการทำงานต่างๆ ต้องวางแผนให้รอบคอบ มองงานต่างๆ ให้ออก และต้องสามารถทำงานทดแทนกันได้ (กรณีศึกษา : การมอบเกียรติบัตรให้ลูกเสือเมื่อวันที่ 28 ส.ค.2551 ที่ผ่านมา)
4. การจัดทำป้ายจราจรเพื่อการเรียนรู้ บริเวณผนังชั้นล่างด้านนอกหน้าอาคาร 1 และในตำแหน่งอื่นๆ ที่เหมาะสม มอบหมายให้ ครูธเนตร์ เดชแดง ครูกมล บัวทอง และครูนิคม เรืองกูล ดำเนินการ
5. การลาป่วย โดยไม่ป่วยจริง การลาป่วยเพราะใช้สิทธิ์ให้ครบวันลา...ไม่ควรกระทำ ขอให้พิจารณาจิตสำนึกของความเป็นครูด้วย เพราะเด็กๆ คงรอท่านอยู่...หากท่านไม่มา
6. การพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียน - ห้องเรียนที่ต้องปรับปรุงส่วนใหญ่เป็นห้องเดิมๆ ครูประจำชั้นคนเดิม – ขอให้ครูประจำชั้นนั้นๆ ช่วยใส่ใจ พยายามเสริมแรง ให้แก่นักเรียนในห้องนั้นด้วย
7. ขอให้รื้อฟื้น ดนตรีสากล เช่น นิ้งหน่อง เมโรเดียน กลองแท็ก กลองใหญ่ ฯลฯ มอบหมายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เป็นผู้รับผิดชอบ เป้าหมายแรก ใช้เคารพธงชาติในช่วงเช้า ใช้เปิดกองลูกเสือในวันพฤหัสบดี และขอให้บรรจุไว้ในกิจกรรมชุมนุมอีก 1 ชุมนุม
8. การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมชุมนุม ขอให้คุณครูรับผิดชอบในการตรวจสอบยอดเด็ก และวางแผนการสอนด้วย การโอนย้ายชุมนุมกระทำได้ แต่ระหว่างชุมนุมต้องประสานรายชื่อนักเรียนแลกเปลี่ยนกัน
9. การจัดส่งข้อสอบให้ฝ่ายวัดผล ขอให้คุณครูที่รับผิดชอบจัดส่งให้เรียบร้อยภายในวันที่ 12 ก.ย.2551
10. การไปอบรมสัมมนาต่างๆ ของครู กลับมาขอให้รีบรายงานให้ทราบ และขอให้นำสิ่งที่ดีๆ มาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วย ไม่อย่างนั้นเงินและเวลาที่เสียไป จะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลยต่อเด็กนักเรียน และจะต้องกลับมาบรรยายให้ครูในโรงเรียนทุกคนได้ทราบในที่ประชุมประจำเดือนทุกครั้ง ขอให้ฝ่ายธุรการฯ ได้บรรจุวาระนี้ลงไปในการประชุมประจำเดือนทุกครั้งด้วย
11. จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำวารสารโรงเรียน ภาคเรียนละ 1 เล่ม ปีละ 2 เล่ม มอบหมายให้ ครูผดุงศักดิ์ ภัตติชาติ เป็นผู้วางแผน เตรียมการ ในเรื่อง รูปเล่ม คอลัมน์ กิจกรรม จำนวนที่พิมพ์ (โดยศึกษาข้อดี ข้อเสียของวารสารโรงเรียนต่างๆ แล้วนำมาประยุกต์ปรับปรุง) ส่วน ครูนันทพร วิเศษรจนา ครูระวีวรรณ พิมพ์รุน และครูศิริวรรณ แจ้งมุข วางแผนเรื่องการจัดหางบประมาณ จาก การบริจาค จากการโฆษณา ฯลฯ ) ร่วมกันยกร่างคำสั่งฯ คณะกรรมการดำเนินงานโดยเร็ว โดยเป้าหมายจะพิมพ์ให้เสร็จพร้อมแจกจ่ายเมื่อเปิดภาคเรียนที่ 2/2551
12. ในภาคเรียนที่ 2/2551 คงต้องมีการขึ้นราคาค่ารถรับ-ส่งนักเรียน และลดค่าใช้จ่ายเรื่องการใช้น้ำมันโดยไม่จำเป็น เช่น การสร้างวัฒนธรรมการเดินให้แก่นักเรียนในการเดินทางด้วยเท้าไปเรียนว่ายน้ำฯ ในช่วงชั้นที่ 2 เป็นต้น
13. การบริหารจัดการโรงพลศึกษา ให้เป็นศูนย์กีฬาของโรงเรียน โดย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษารับผิดชอบ ให้ครูในกลุ่มจัดตั้งเป็นสถานที่ทำงานของกลุ่มที่โรงพลศึกษา, จัดตั้งโต๊ะปิงปอง , อุปกรณ์กีฬาต่างๆ ให้เก็บไว้ที่โรงพลศึกษา, จัดวางทำระบบการเบิก-จ่าย ให้ดี
14. ทุกวันศุกร์ที่ไม่ได้มีการฟังธรรมประจำเดือน ขอให้มีการสวดมนต์สรภัญญะ ทุกครั้ง หลังจากสวดจบให้มีการประชุมชี้แจงสรุปกิจกรรมต่างๆ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องทำในสัปดาห์หน้า
15. การฟังธรรมประจำเดือน ขอให้รักษาเวลาและพยายามปรับเปลี่ยนหมุนเวียนพระจากวัดอื่นๆ บ้าง พระจะได้รู้จักโรงเรียนของเราอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
16. การสนับสนุนกิจกรรมของคณะกรรมการนักเรียนฯ เน้น สอนให้เขาคิด วิเคราะห์ และสร้างงานเองได้ ที่มอบหมายไป ณ ขณะนี้ คือ การจัดกิจกรรมรณรงค์เด็กติดเกม การร่างข้อบังคับสภานักเรียน การออกแบบสัญลักษณ์ของคณะกรรมการนักเรียน การวางแผนจัดเตรียมการแข่งขันกีฬาสี ฯลฯ ขอให้คุณครูทุกคนให้ข้อแนะนำได้ ถึงแม้จะไม่ใช่คณะกรรมการที่ปรึกษา
17. การฝึกลูกเสือในบ่ายวันพฤหัสบดี ครูที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องลงฝึกทุกคน และให้ผู้กำกับกลุ่ม จัดทำสารสนเทศให้ทันสมัย รายชื่อหมู่ รายชื่อกอง รายชื่อรองผู้กำกับ ผู้กำกับฯ
18. ฝอ.3 ช.11 ขอความอนุเคราะห์ตกแต่งบอร์ด “พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี” ในสัปดาห์หน้า เพื่อใช้ในวันที่ 11 ก.ย.2551 ขอให้ครูระวีวรรณฯ พิจารณาจัดครูที่เชี่ยวชาญให้ด้วย (ตกแต่งที่บริเวณห้องสมุด เสร็จแล้ว ช.11 จะยกไปเอง)
เก็บมาฝาก
การที่ระบบสังคมเศรษฐกิจและสังคมไทยเปิดกว้างสู่โลกาภิวัตน์ และเกิดการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมอย่างไร้พรมแดนเข้าสู่สังคมไทย ได้ส่งผลกระทบต่อคนไทย ดังนี้
1. คนไทยมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เน้นวัตถุนิยมและบริโภคนิยมมากขึ้น
2. ขาดจิตสำนึกสาธารณะ ให้ความสำคัญส่วนตนมากกว่าส่วนรวม
3. การให้คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นคนและการยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำรงชีวิตเริ่มเสื่อมถอยลง
4. วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติถูกละเลยและมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่น้อย
.....การพัฒนาศักยภาพคนแม้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยรวมจะอยู่ในระดับที่สูงขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาในเชิงคุณภาพการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องเร่งพัฒนาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากระบบการศึกษาในปัจจุบันเป็นระบบคิดแยกส่วนออกจากวิถีชีวิต โดยเอาตำราหรือวิชาเป็นตัวตั้งซึ่งเป็นความรู้นอกตัว ยังไม่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาให้รู้จักชีวิต หรือรู้จักตัวเอง..
ที่มา : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ พ.ศ.2550-2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น